ชื่อผลงานทางวิชาการ : วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (Introduction to Public Administration)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารประกอบการสอน วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2555 – 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คระมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นายสุรศักดิ์ โตประศรี ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และคณะ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการหรือการจัดการเกี่ยวกับราชการหรืองานของรัฐ วิชาที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ เป็นกระบวนการที่คนตั้งแต่ 2 คน ร่วมมือกระทำในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมาย

       วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการศึกษาปรัชญาการเมืองรัฐธรรมนูญและการออกแบบกฎหมาย สนใจการปฏิรูปการทำงานของรัฐบาล ใช้เทคนิคทางศาสตร์มาแก้ปัญหาจัดองค์การและบริการ ตลอดเวลาที่ผ่านมาการศึกษาวิชานี้ก็ยังอยู่ในภาวะของการแสวงหาเอกลักษณ์ต่อไป โดยเฉพาะความรู้จากศาสตร์สาขาอื่นๆ ขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์มี 3 ขอบข่าย คือ การเมืองและนโยบายสาธารณะ ทฤษฎีองค์การและเทคนิคบริหาร

       สถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นสังคมศาสตร์เป็นวิชาที่สอนให้คนมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนในลักษณะเป็นระบบ รัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาย่อยของรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์มีความสัมพันธ์กัน เพราะนำเศรษฐศาสตร์มีประโยชน์ต่อการพิจารณาทางรัฐประศาสนศาสตร์ ได้แก่ เรื่องสินค้า บริการสาธารณะบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์การจัดการในแง่กรอบความคิด วิเคราะห์องค์การราชการในแง่มุมต่างๆ สอดคล้องระหว่างค่านิยมหลักในการบริหารกับค่านิยมพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ กระบวนทัศน์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คือ กรอบความคิดที่กำหนดแบบแผนหรือกรอบเค้าโครงเพื่อกำหนดขอบเขตของการศึกษาการบริหารรัฐเก่า กรอบการมองวิชาบริหารรัฐกิจต้องมีการสร้างแบบกรอบการมอง (Paradigm) ของนักรัฐศาสตร์ เช่น พาราไดม์ ที่ 1 การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน พาราไดม์ ที่ 2 หลักการบริหาร ฯลฯ เป็นต้น

       ทุกองค์การต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงาน อาทิเช่น สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น องค์การเปรียบเสมือนสิ่งที่มีชีวิตที่มีวงจรชีวิต พัฒนาการเจริญเติบโต พร้อมที่จะปรับตัวได้ทุกขณะเพื่อให้สามารถอยู่ได้ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีความผันผวนตลอดเวลา แนวโน้มในการบริหารองค์การให้ประสบความสำเร็จได้ค่อนข้างสูง จำเป็นต้องใช้หลักทฤษฎีองค์การมาประยุกต์ อาทิเช่น กลุ่มทฤษฎีดั่งเดิมหรือคลาสิก กลุ่มทฤษฎีดั่งเดิมแบบใหม่หรือนีโอคลาสิก ฯลฯ เป็นต้น นโยบายสาธารณะและการวางแผนเป็นแนวทางปฏิบัติกว้างๆ ซึ่งกำหนดโดยรัฐบาลหรือข้าราชการระดับสูง ต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่ง และรัฐบาลมีความจริงใจและจริงจังที่จะให้มีการนำนโยบายไปปฏิบัติและนโยบายอาจเป็นบวกหรือลบหรือกระทำหรืองดเว้นก็ได้

       ประเภทของนโยบายสาธารณะมี 4 ประการ เช่น แบ่งตามการเน้นเนื้อหาสาระหรือวิธีปฏิบัติของนโยบาย แบ่งตามผลกระทบต่อสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย แบ่งตามความสามารถในการระบุกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จากนโยบายและแบ่งตามลักษณะเสรีนิยมหรือ อนุรักษ์นิยมของนโยบาย ขอบข่ายของการศึกษานโยบายสาธารณะ คือ การกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ ฯลฯ เป็นต้น การวางแผนมีความสำคัญของการวางแผน เป็นหน้าที่อันดับแรกของผู้บริหาร เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ เป็นต้น การวางแผนมี 2 ประเภท คือ แผนถาวร (Standing Plan) แผนใช้ครั้งเดียว (Single use Plan) สำหรับการบริหารงานบุคคลมีความสำคัญต่อผู้บริหารทุกคน ต้องเตรียมตั้งแต่การวางแผน จัดแผนภูมิองค์การและกำหนดสายการทำงานที่ชัดเจน รวมถึงการควบคุมด้วยความชำนาญ หลักการบริหารงานบุคคลมีทั้งระบบอุปถัมภ์ (Patronage System)  กับระบบคุณธรรม (Merit System) โดยเฉพาะระบบคุณธรรมมี 4 ประการ คือ หลักความสามารถ หลักความเสมอภาคและหลักความมั่นคง

จุดเด่น/ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอน : วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ มีหลายประเด็น อาทิเช่น

       ประเด็นที่ 1 ขอบข่ายการเมืองและนโยบายสาธารณะต้องอาศัยวิชารัฐศาสตร์เป็นพื้นฐานในการศึกษา เพราะมีสาระครอบคลุมทั้งหมดของคำว่า “รัฐ” เนื่องจากการเมืองและนโยบายสาธารณะนั้นมีสาระครอบคลุม 3 เรื่อง ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการบริหาร นโยบายสาธารณะและค่านิยม เนื่องจากขอบข่ายการเมืองนโยบายสาธารณะต้องอาศัยวิชารัฐศาสตร์เป็นพื้นฐานในการศึกษา เพราะสาระครอบคลุมคำว่า “รัฐ” ดังนั้นการบริหารรัฐกิจต้องคำนึงถึง การมองปัญหา การตัดสินใจและการติดต่อสัมพันธ์กับระบบต่างๆ ของระบบราชการ นักบริหารรัฐกิจต้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดดันจากสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ

       ประเด็นที่ 2 ทิศทางและแนวโน้มของรัฐประศาสนศาสตร์ มีส่วนผลักดันผู้บริหารรัฐกิจ ต้องยึดหลักประสิทธิภาพ ประหยัดและผลผลิต โดยเฉพาะการเรียนการสอนรัฐประศาสนศาตร์ต้องเน้นผลผลิตให้มีความรู้ ทักษะพฤติกรรมและค่านิยม สามารถบริหารรัฐกิจได้ทุกประเภท ความรู้ที่ใช้สอนต้องบูรณาการกันระหว่าง การเมืองและนโยบายสาธารณะ ทฤษฎีองค์การและเทคนิคการบริหาร

       ประเด็นที่ 3 เรื่องการวางแผนการปฏิบัติงาน เพราะมีความสำคัญมากต่อการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามความต้องการอย่างเป็นระบบ ต้องสามารถกำหนดผลลัพท์ได้ว่า เมื่อวางแผนแล้วจะมีอะไรเกิดตามมาได้ ดังนั้นการวางแผนจึงมีความสำคัญ อาทิเช่น

       1) เป็นหน้าที่อันดับแรกของผู้บริหาร

       2) แผนเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ

       3) เป็นตัวอย่างกำหนดทิศทางและความรู้สึกในเรื่องของความมุ่งหมายสำหรับองค์การให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รู้

       4) ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมองไปในอนาคตและเห็นโอกาสที่จะแสวงหาประโยชน์และการกระทำต่างๆ ให้บังเกิดผลสำเร็จ

       5) ทำให้การตัดสินใจที่มีเหตุผลรองรับ

       ประเด็นที่ 4 หลักการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม ซึ่งการบริหารงานบุคคลนั้นต้องเริ่มต้นจากระบบอุปถัมภ์ซึ่งไม่มีระบบและหลักเกณฑ์ จึงมีการแก้ปัญหาด้วยการนำระบบการบริหารงานบุคคลแผนใหม่ใช้เรียกว่า ระบบคุณธรรมมีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ

       1) หลักความสามารถ ยึดหลักความรู้ ความสามารถของบบุคลเป็นสำคัญ

       2) หลักความเสมอภาค เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ที่กำหนดไว้มีสิทธิสอบแข่งขัน

       3) หลักความมั่นคง เป็นหลักประกันของข้าราชการเกี่ยวกับความมั่นคงในชีวิต

       4) หลักความเป็นกลางทางการเมือง ข้าราชการต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถและเต็มภาคภูมิ

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เอกสารวิชานี้มีจุดที่เป็นความรู้ทั่วไปที่นิสิตนักศึกษา อาจารย์และบุคคลอื่นๆ ที่สนใจเกี่ยวกับวิชารัฐประศาสนศาสตร์จำเป็นต้องรู้ คือ เรื่อง การบริหารงานคลังสาธารณะ เพราะจัดว่าวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลต้องเป็นอิสระในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะการตัดสินใจร่วมกันระหว่างประกาศจำนวนมาก ความสำคัญของการบริหารการคลังสาธารณะ คือ การทำให้ทุกคนจะได้รับประโยชน์และสังคมโดยรวมจะดีขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเข้าใจบทบาทใน 3 เรื่อง ดังนี้

       1) การป้องกันประเทศ

       2) การรักษาความสงบภายในประเทศ

       3) การจัดสรรบริการสาธารณะต่างๆ

       จากบทบาททั้ง 3 ข้อนี้ เป็นการบริหารการคลังจากสาเหตุการกำหนดการบริหารการคลังของรัฐล้วนมีผลต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจของสังคม ภาครัฐเป็นองค์กรที่รับและจ่ายเงินรายใหญ่ที่สุดของประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองปัจจุบัน เป้าหมาในการบริหารงานคลังของรัฐและการบริหารการคลังสาธารณะ สำหรับเครื่องมือในการบริหารการคลังนั้นรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายไว้ 4 ประการ คือ ภาษีอากร งบประมาณ หนี้สาธารณะและเงินคงคลัง ในปัจจุบันรัฐบาลจะต้องบริหารงบประมาณหลายระบบ ซึ่งมีหลายประเภท อาทิเช่น ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ (Line Item Budgeting) งบประมาณแบบแสดงผลงานหรือปฏิบัติการ (Program or Performance Budgeting) และระบบงบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning Programming Budgeting System : PPBS)

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร