ดอกไม้พวกใบต่างดอก

ความนำ ดอกไม้ที่สมบูรณ์(complete flower)ตามหลักพฤกษศาสตร์จะประกอบด้วยวงดอก 4 วง คือ กลีบเลี้ยง(sepal) กลีบดอก(petal) เกสรผู้(stamen) และเกสรเมีย(pistil) เมื่อถึงเวลาดอกไม้บานส่วนของกลีบดอกก็จะอวดความสวยงามด้วยสีสันตามพันธุกรรมของดอกไม้แต่ละชนิดซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่มีดอกไม้หลายชนิดที่เมื่อบานแล้วกลับมีส่วนของใบมาทำหน้าที่แทนกลีบดอกเรียกว่าใบประดับหรือ“bract” มีสีสันสวยงามจนผู้พบเห็นเข้าใจว่าเป็นกลีบดอก ครูอาจารย์ที่สอนรายวิชาเกี่ยวกับชีววิทยาหรือเกษตรศาสตร์มักนำมาเน้นการเรียนการสอนและออกข้อสอบ จึงขอรวบรวมดอกไม้เหล่านั้นมาให้เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจนดังนี้

1. เฟื่องฟ้า สีสันสวยงามของเฟื่องฟ้าหลายสี เช่น แดง ขาว เหลือง ส้ม ชมพู หรือเหลือบสีปนกันที่มองเห็นแต่ไกลนั้นคือใบประดับ หากเด็ดดอกเฟื่องฟ้ามาสักหนึ่งดอกจะเห็นว่ามีใบประดับ3ใบประกอบกัน มีดอกจริงติดอยู่ที่โคนของใบประดับทั้ง3ใบ ทำให้ดอกจริงของเฟื่องฟ้ามี3ดอกซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดสีขาวเท่าก้านไม้ขีดไฟที่ส่วนปลายแผ่ออกเป็นสีขาวนั่นคือ“ดอกจริง”ของเฟื่องฟ้า ซึ่งไม่ได้มีความเด่นสะดุดตาเลย ดังภาพต่อไปนี้


2. ดอนญ่า สีสันสวยงามของดอนญ่าหลายสี เช่น แดง ขาว ชมพู ปูน หรือชมพูขลิบแดง ที่มองเห็นแต่ไกลนั้นคือใบประดับ ตำราหลายเล่มเรียกดอนญ่า(Dona)ว่า “ใบต่างดอก” หากเด็ดดอกดอนญ่ามาสักหนึ่งดอกจะเห็นว่าดอกจริงของเฟื่องฟ้ามีลักษณะเป็นหลอดสีขาวเท่าก้านไม้ขีดไฟที่ส่วนปลายแผ่ออกเป็นสีเหลืองนั่นคือ “ดอกจริง”ของดอนญ่า ซึ่งไม่ได้มีความเด่นสะดุดตาเลย ดังภาพต่อไปนี้


3. คริสต์มาส สีสันสวยงามของคริสต์มาสมีหลายสี เช่น แดง ชมพู สีครีม หรือด่างเหลือบสี ที่มองเห็นแต่ไกลนั้นคือใบประดับ หากเพ่งดูดอกคริสต์มาสใกล้ๆจะเห็นว่าดอกจริงของคริสต์มาสมีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลืองเป็นมันนูนขึ้นมาเป็น5แฉก มีเมือกเหนียวๆฉาบอยู่ซึ่ง“ดอกจริง”ของคริสต์มาสไม่ได้มีความสวยงามสะดุดตาเลย ดังภาพต่อไปนี้


4. โป๊ยเซียน สีสันสวยงามของโป๊ยเซียนมีหลายสี เช่น แดง ชมพู สีครีม ขาว เหลือง หรือด่างเหลือบสีต่างๆ ที่มองเห็นแต่ไกลนั้นคือใบประดับซึ่งอาจจะมีสองชั้นหรือมากกว่า หากเพ่งดูดอกโป๊ยเซียนใกล้ๆจะเห็นว่าดอกจริงของโป๊ยเซียนมีลักษณะเป็นแผ่นสีเหลืองเป็นมันนูนขึ้นมาเป็น5แฉก มีเมือกเหนียวๆฉาบอยู่ซึ่ง“ดอกจริง”ของโป๊ยเซียนไม่ได้มีความสวยงามสะดุดตาเลย หากสังเกตดอกที่แก่แล้วจะพบผลของโป๊ยเซียนเป็น3พู แต่ละพูมีเมล็ดเล็กนำมาเพาะกล้าได้ ดังภาพต่อไปนี้


5. หน้าวัว สีสันสวยงามที่มองเห็นแต่ไกลนั้นคือใบประดับของหน้าวัวซึ่งมีหลายสี เช่น แดง ชมพู สีครีม ขาว เขียว หรือด่างเหลือบสีต่างๆ ส่วนของใบประดับของหน้าวัวนั้นมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า spath ซึ่งมีความมันวาวเป็นร่อง ส่วนดอกจริงของหน้าวัวมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายมวนบุหรี่มีขาวหรือสีเหลืองเป็นมันมีปุ่มเล็กๆเรียงเป็นเกลียวอย่างมีระเบียบ ครึ่งล่างเป็นเกสรเพศเมียครึ่งบนเป็นเกสรเพศผู้ มีเมือกเหนียวๆฉาบอยู่ทั้งแท่ง แท่งนี้มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า spadix “ดอกจริง”ของหน้าวัวที่เป็นแท่งนี้ช่วยเสริมความสวยงามให้แก่ใบประดับให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ดอกหน้าวัวที่แก่แล้วจะพบผลของหน้าวัวเป็นเม็ดกลมๆคล้ายพริกไทยเกาะอยู่บนแท่ง spadix แต่ละเม็ดคือ 1 ผล ในแต่ละผลมี1เมล็ดนำมาเพาะกล้าได้ ดังภาพต่อไปนี้


6. เดหลีใบกล้วย เป็นไม้ดอกที่คล้ายกับหน้าวัว ซึ่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกัน ที่ต่างกันคือ เดหลีใบกล้วยมีสารเมทิลยูจีนอล”(methyl eugenol) ซึ่งล่อแมลงวันทองตัวผู้มาตอมในช่วงก่อนเที่ยงวัน

ดังภาพต่อไปนี้