บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปะกอก ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนิน และเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า โดยมีขั้นตอนดำเนินงานดังนี้
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- สถิติที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดบางปะกอก สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 245 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดบางปะกอก สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้องเรียนรวมทั้งสิ้น 35 คน โดยวิธีการสุ่มเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 6 มีผลการเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ
- ชุดฝึกทักษะ เรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดฝึกทักษะ เรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีทั้งหมด 2 ชุด
ชุดที่ 1 การหารลงตัว
ชุดที่ 2 การหารไม่ลงตัว
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัยชนิดตัวเลือก 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ
- แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 11 แผน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้
- ขั้นตอนการสร้างแผนจัดการเรียนรู้เรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีทั้งหมด 11 แผน 11 คาบ
1.1. แผนจัดการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยศึกษาเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 25511.2. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง โดยกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด, สาระสำคัญ, สาระการเรียนรู้, จุดประสงค์การเรียนรู้, สมรรถนะสำคัญ, คุณลักษณะอันพึงประสงค์,กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ดังนี้
1.2.1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การหาร จำนวน 11 แผน 11 คาบ
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ทดสอบก่อนเรียน (การหาร)
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การหารลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การหารลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การหารลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การตรวจสอบผลหารลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 6 การหารลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 7 การหารไม่ลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 8 การหารไม่ลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 9 การตรวจสอบผลหารไม่ลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 10 การหารไม่ลงตัว
– แผนการจัดการจัดการเรียนรู้ที่ 11 ทดสอบหลังเรียน (หารหาร)1.3 นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาบัณฑิตนิพนธ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสมแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข้1.4 นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบคุณภาพขอแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยตอบแบบประเมินคุณภาพซึ่งเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับดีมาก แล้วนำไปปรับปรุงแก้ ไขตามคำแนะนำ โดยพิจารณาความเหมาะสม และการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยตาม บุญชม ศรีสะอาด(2554, น.82) ดังนี้
กำนดเกณฑ์การพิจารณา
5 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก
4 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
3 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับพอใช้
1 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปรับปรุง
การแปลความค่าเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.50 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับต้องปรับปรุง
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.51 – 2.00 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับพอใช้
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.01 – 3.50 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปลานกลาง
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 – 4.50 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 4.51 – 5.00 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก
1.5 นำแบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่แก้ไขสมบูรณ์ตามคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาบัณฑิตนิพนธ์อีกครั้งก่อนนำไปทดลองกลุ่มตัวอย่าง
- ขั้นตอนการสร้างชุดฝึกทักษะเรื่อง การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีทั้งหมด 2 ชุด ดังนี้
2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุดฝึกทักษะ2.2 สร้างชุดฝึกทักษะโดยในชุดฝึกทักษะมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
2.2.1 ชื่อชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร
2.2.2 คําชี้แจงเป็นการอธิบายวิธีการใช้ชุดฝึกทักษะ
2.2.3 จุดประสงค์การเรียนรู้
2.2.4 ใบความรู้และใบงาน2.3 การประเมินผลเป็นแบบทดสอบหลังการใช้ชุดฝึกทักษะ ให้นักเรียนได้ประเมินความรู้ความสามารถของตนเอง
2.4 นำชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจคุณภาพของชุดฝึกทักษะโดยตอบแบบประเมินคุณภาพซึ่งเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับดีมาก แล้วนำไปปรับปรุงแก้ ไขตามคำแนะนำ โดยพิจารณาความเหมาะสม และการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยตาม บุญชม ศรีสะอาด (2554, น.82) ดังนี้
กำนดเกณฑ์การพิจารณา
5 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก
4 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
3 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
2 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับพอใช้
1 หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปรับปรุงการแปลความค่าเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.50 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับต้องปรับปรุง
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.51 – 2.00 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับพอใช้
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.01 – 3.50 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปลานกลาง
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 – 4.50 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 4.51 – 5.00 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก - ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียนเรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัยจำนวน 15 ข้อ 3 ตัวเลือก ดังนี้
3.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสำหรับการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.2 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 จำนวน 15 ข้อ
3.3 นำแบบทดสอบทั้ง 15 ข้อ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคําแนะนําและตรวจสอบประเมินความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบรายข้อกับมาตรฐานการเรียนรู้
โดยกำหนดเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ (นพพร ธนะชัยขันธ์ 2555, น. 319)
ให้คะแนน -1 หมายถึง ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
ให้คะแนน 1 หมายถึง สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้3.4 คำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตามสูตรของ อำภารัตน์ ผลาวรรณ์ (2556, น.116) และคัดเลือกแบบทดสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป จำนวน 10 ข้อ
3.5 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้ในการเก็บรวบรวมคะแนนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
- ทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการหาร 1 คาบ
- ดำเนินการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร เวลา 9 คาบ คาบละ 50 นาที
- เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้แล้ว ทำการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการหาร 1 คาบ
- นำคะแนนจากการเก็บระหว่างเรียน และคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การหาร มาตรวจสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีการทางสถิติต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
- หาคุณภาพของเครื่องมือวิจัยโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)
- หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ เรื่องการหาร โดยใช้ สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2
- เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากคะแนนการทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องการหาร โดยใช้ (t – test for Dependent Sample)
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
- สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) โดยคำนวณจากสูตร (อำภารัตน์ ผลาวรรณ์, 2556, น.115)
1.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณโดยใช้สูตร (นพพร ธนะชัยขันธ์, 2555, น.18)
- สถิติที่ใช้ในการตรวจคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพของชุดฝึกทักษะ, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการหาร
2.1.1 การหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา (อำภารัตน์ ผลาวรรณ์ 2556, น.116) - สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
3.1 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 ชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ E1/E2 เท่ากับ 70/70หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะเรื่องการหารตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 ใช้สูตร E1/E2 ดังนี้ (เบญจวรรณ ใจหาญ, 2552, น.73)
70 ตัวแรก คือ ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
70 ตัวหลัง คือ ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทําแบบทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยคำนวณจากสูตร ดังนี้ (เบญจวรรณ ใจหาญ, 2552, น.73)
สูตรที่ 1
สูตรที่ 2
3.2 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 ชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ โดยใช้ t-test for dependent sample มีสูตรที่ใช้ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2554, น.149)