องค์ความรู้ซอสามสายของครูเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สุรพงษ์   บ้านไกรทอง*
*วิทยาลัยการดนตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้ซอสามสายของครูเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เป็น โครงการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

                สุรพงษ์ บ้านไกรทอง

          การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ) ศึกษาประวัติการถ่ายทอดซอสามสายในกรุงรัตนโกสินทร์   ) เก็บรวบรวมองค์ความรู้การบรรเลงเดี่ยวซอสามสายของครูเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์    ) บันทึกองค์ความรู้การบรรเลงเดี่ยวซอสามสายที่มีสภาวะวิกฤตต่อการสูญหายในรูปแบบของวีดีทัศน์และโน้ตเพลง

วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม

ผลการวิจัย

          ๑. ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยาวนาน มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะทางกายภาพที่สวยงาม มีกรรมวิธีการสร้างที่ประณีตบรรจง ใช้บรรเลงในพระราชพิธี ยาวนานมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ปรากฏคีตกวีที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระประดิษฐไพเราะ (มี)  ซึ่งถือเป็นคีตกวีที่เป็นต้นกำเนิดของสำนักซอสามสายที่สำคัญในปัจจุบัน ซอสามสายในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น จะมีใช้อยู่แต่ในราชสำนักเท่านั้น หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี .. ๒๔๗๕  ซอสามสายจึงได้แพร่หลายสู่สามัญชน  ซึ่งมีสำนักซอสามสายที่ค้นพบในปัจจุบันจานวน สำนัก ได้แก่  

          สำนักที่มีต้นกำเนิดจากราชสำนักคือ สำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี), สำนักที่มีต้นกำเนิดจากขุนนาง คือ สำนักครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล  และสำนักที่เกิดขึ้นด้วยอัตลักษณ์ของคีตกวี คือ สำนักหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)  ในปัจจุบันทั้งสามสำนักมีลูกศิษย์กระจายอยู่ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ

          ๒. องค์ความรู้การบรรเลงเดี่ยวซอสามสายในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)  มีทั้งสิ้น ๑๕ บทเพลง ได้แก่  ขับไม้บัณเฑาะว์ ช้าลูกหลวง หกบท  ต้นเพลงฉิ่ง นกขมิ้น บุหลันลอยเลื่อน บรรทมไพร ทะแย ปลาทอง พญาครวญ พญาโศก แสนเสนาะ  เชิดนอก  กราวใน  ทยอยเดี่ยว  นอกจากนี้ยังมีบทเพลงที่ศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ได้เรียบเรียงขึ้นอีกเป็นจำนวน เพลง ได้แก่ ปราสาทไหว มอญแปลง จระเข้หางยาว ตวงพระธาตุ เขมรปี่แก้วทางศักรวา  พญารำพึง   จันทราหู  รามจิตติรำลึก  เชิดนอก (เพิ่มเติมในช่วงเดี่ยวเพลงเชิด) ซึ่งบทเพลงต่างๆ ได้รับการสืบทอดจนถึงปัจจุบันอย่างครบถ้วน องค์ความรู้การบรรเลงเดี่ยวซอสามสายในสำนักครูเทวาประสิทธ์ พาทยโกศล มีทั้งสิ้น  บทเพลง ได้แก่ กระบองกัณฑ์ แขกมอญ สุรินทราหู  สุดสงวน  เชิดนอก  ทะแย  ซึ่งปัจจุบันสูญหายไปแล้ว บทเพลงได้แก่ เพลงเชิดนอกและเพลงทะแย องค์ความรู้การบรรเลงเดี่ยวซอสามสายในสำนักหลวงไพเราะเสียงซอ  (อุ่น ดูรยชีวิน) มีทั้งสิ้น ๑๓ บทเพลง ได้แก่ หกบท  บุหลันลอยเลื่อน  นกขมิ้น  พญาโศก  พญาครวญ  พญารำพึง  สารถี ทะแย  แขกมอญ  ต่อยรูป  ลมพัดชายเขา  ลาวแพน  ทยอยเดี่ยว ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว บทเพลงได้แก่ ต่อยรูป ลมพัดชายเขา  ลาวแพน  ทยอยเดี่ยว

          ๓. การบันทึกองค์ความรู้ การบรรเลงเดี่ยวซอสามสายที่มีสภาวะวิกฤตต่อการสูญหายในรูปแบบของ วีดีทัศน์และโน้ตเพลง ในสำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) มีทั้งสิ้น เพลงได้แก่ พญาโศก  บรรทมไพร  แสนเสนาะ  เชิดนอก  กราวใน  ทยอยเดี่ยว  สำนักครูเทวาประสิทธิ์พาทยโกศล มีทั้งสิ้น เพลง ได้แก่  กระบองกัณฑ์  แขกมอญ  สุรินทราหู และ  สำนักหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) มีทั้งสิ้น บทเพลง ได้แก่ หกบท  บุหลันลอยเลื่อน  นกขมิ้น พญาโศก พญาครวญ สารถี ทะแย

บรรเลงเพลงพญาครวญ  ทางพระยาภูมีเสวิน

บรรเลงเพลงพญาครวญ  ทางหลวงไพเราะเสียงซอ ( อุ่น  ดูริยชีวิน )