ชวลิต  ผู้ภักดี นำเสนอ  บทความจากความทรงจำของ

รองศาสตราจารย์ไกรนุช  ศิริพูล

อาจารย์อาวุโสจาก  “วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”

สู่  “สถาบันราชภัฏ”

วิวัฒนาการสู่

“มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”

แม้ปัจจุบันริริอายุก้าวเข้าสู่ เลข ๙ แล้วแต่ยังมีพลังที่จะ

เขียน เขียน  และเขียน

สมกับที่เป็นครูอย่างมีชีวิตและจิตใจอย่างแท้จริง

 


จากคำนำ ที่ท่านผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า

“ประวัติของศรีปราชญ์ฉบับนี้  เขียนขึ้นจากความทรงจำที่ได้เล่าเรียนมา เมื่อข้าพเจ้าได้เล่าประวัติของศรีปราชญ์ให้สมาชกที่ร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาด้วยกันฟัง  หลายท่านอยากได้ประวิติของศรีปราชญ์ และขอร้องให้เขียนไว้ให้ด้วย พบกันครั้งไร ก็ทวงถามอยู่เสมอ ผู้เขียนไม่มีตำหรับตำรับตำราจะค้นคว้า เพราะได้บริจาคหนังสือทั้งหมดให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และห้องสมุดของวัดในต่างจังหวัดไปแล้ว ประวัติของศรีปราชญ์ฉบับนี้คงไม่สมบูรณ์แน่นอน หากท่านได้รับความพอใจ ความเพลิดเพลิน ขออานิสงส์นี้จงนำสู่เพื่อนสมาชิที่เคยร่วมทัศนศึกษาด้วยกันมาเป็นเวลายาวนาน  ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ และล่วงลับไปแล้วด้วยเทอญ

รักจากใจ

ไกรนุช  ศิริพูล

๑๖ มกราคม ๒๕๕๓

ศรีปราชญ์

ยอดกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา

          ศรีปราชญ์เป็นปฏิภาณกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ ทรงพระนามว่า พระรามธิบดีที่ ๓

          สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นยุคทองของวรรณคดีไทย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งกวีในสมัยนั้น จึงอุดมไปด้วยกวีที่สำคัญๆ หลายท่าน อาทิ

 

 พระมหาราชครู แต่ง

๑. สมุทโฆษคำฉันท์ ยังไม่จบ ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระราชนิพนธ์ต่อ ยังไม่ทันจบ  ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมนุชิโนรสแห้งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์ต่อจนจบ

๒. เสือโคคำฉันท์

๓. จินดามณี เป็นตำราเรียนเล่มแรกของไทย

พระศรีมโหสถ  แต่ง

๑. กาพย์ห่อโคลง เล่าถึงความสนุกสนานของประชาชนในแผ่ดินสมเด็จพระนารยาณ์มหาราช

๒. โคลงเฉลิมพระเกียรติ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 

ขุนเทพกวี พราหมณ์ชาวเมืองสุโขทัย แต่ง คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง

พระเยาวราช จากเมืองเชียงใหม่  แต่ง ทวาทศมาส โดยมีขุนพรพมมนตรี ขุนศรีกวีราช ขุนสารประเสริฐ ช่วยแต่งเกลาแก้สำนวนกลอน

ศรีปราชญ์       บุตรพระมหาราชครู บาตำราว่าเป็นบุครพระโหราธิบดี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นคนคนเดียวกัน คือพระโหราธิบคีรับราชการในตำแหน่งมายาวนาน และเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแก้สมเด็จพระนารายณ์ด้วย จึงได้ชื่อว่าพระมหาราชครูอีกชื่อหนึ่ง

ศรีปราชญ์คงได้รับการอบรม หล่อหลอมความรู้ต่างๆ ด้านวรรณคดีไทยอย่างดีจากบิดา สำนวนภาษา โค กลอน ฉันท์ต่างๆ ของศรีปราชญ์ยังทันสมัย เป็นอมตะมาจนทุกวันนี้

          สันนิษฐานกันว่า ศรีปราชญ์ เดิมชื่อ ศรี มีความสามรถแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์  กลอนได้ ตั้งแด่ยังเยาว์วัย

          มีเรื่องเล่าว่า  เมื่อเด็กอายุประมาณ ๙ ขวบหรือ ๑๐ ขวบ บังอาจแต่งต่อโคลงพระราชนิพนธ์ของสมด็จพระนารายณ์ฯ ที่ทรงค้างไว้สองบาท โดยโคลงพระราชนิพนธ์นี้ สมเด็จพระนารายร์ฯ ทรงพระกรุณาพราชทานให้พระมหาราชครูเอามาแต่งให้จบทั้งบท คือ

อันใดย้ำแก้มแม่                 หมองหมาย

ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย            ลอบกล้ำ

 

          พระมหาราชครูผู้เฒ่า รับเอามาแล้วยังมิทันได้แต่ต่อก็เก็บไว้  รุ่งเช้านึกขึ้นได้จึงไปหยิบดูก็พบว่ามีผู้แต่งเสร็จแล้วอีก ๒ บาท คือ

ผิวชนแต่จักกราย                ยังยาก

ใครจะอาจให้ช้ำ                  ชอกเนื้อเรียมสงวน

 

จนครบสี่บาทของโคลงสี่สุภาพ

โดยที่เป็นเวลากะทันหัน แบทโคลงนั้นก็ดีแล้วคือ

อันใดย้ำแก้มแม่                  หมองหมาย

ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย                       ลอบกล้ำ

ผิวชนแต่จักกราย                           ยังยาก

ใครจะอาจให้ช้ำ                            ชอกเนื้อเรียมสงวน

          สมเด็จพระนารายณ์ฯ รงคุ้นเคยกับพระมหาราชครูดีและชราแล้ว คงจะไม่แต่งข้อความพาดพิงเข้าถึงเรื่องของพระองค์อย่างแหลมคมดังเช่นข้อความในบาทที่สี่นั้นเป็นแน่   จึงมีพระราชดำรัสถาม ก็ทรงทราบว่าผู้แต่งเป๊นบุตรพระมหาราชครู อายะพียงสิบขวบก็ทรงพอพระทัยนัก  ถึงกับทรงขอชมตัว และเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นหน่วยก้านชั้นเชิงหนูน้อยนักเลงกลอน  ก็ทรงพระกรุณาขอไว้เป็นมหาดเล็ก   พระมหาราชครู หรือพระโหราธิบดีคงจะรู้ด้วยวิชาโหร ว่า “ศรี”ลูกของตนจะอายุสั้นด้วยอาญาแผ่นดิน จึงกราบทูลว่า บุตรของตนยังเป็นเด็ก จะทำผิดด้วยไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ จึงขอพระกรุณาพระราชทานอภัยโทษ แม้วาจะมีผิดถึงตาย ก็ขอให้ยกโทษประหารเป็นเนรเทศแทน ก็ทรงพระกรูราพรราชทานโทษประหารแก่พระมหาราชครู ศรีปราชญ์จึงได้เป็นมหาดเล็กในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์ฯ แต่นั้นมา

          ในการทรงพระอักษร หรือในโอกาสโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารแต่งบทประพันธ์ถวาย ก็มีพระราชดำรัสให้ศรีปราชญ์อยู่ด้วยทุกครั้ง ทำให้ชื่อเสียงของศรีปราชญ์แพร่ออกไปโดยเร็ว

          ความหนุ่มแก่วัยและความจัดจ้านในคารมของศรีปราชญ์ คงจะได้เป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั้งในวัง และนอกวัง

          ในครั้งหนึ่งในราชสำนัก มีกวีสำคัญคือ  “เจ้าเชียงใหม่”  สันนิษฐานว่าอยู่ในฐานะตัวจำนำ  ศรีปราชญ์ได้โต้ฝีปากกับกวีผู้นี้อยู่เสมอ การโต้ตอบหรือประกวดกัน ศรีปราชญ์มักจะเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ

          มีอยู่ครั้งหนึ่ง  เกิดมีเสียงอึกทึกครึกโครม       สมเด็จพระนารายณ์ ทรงตรัสถามถึงต้นเหตุของเสียงว่าเป็นด้วยเหตุประการใด ด้วยความเป็นปฏิภาณกวีของศรีปราชญ์ จึงกราบทูลเป็นโคงว่า

ครื้นครื้นสนั่นพื้น                       ปฐพี

เสียงตะขาบขับตี                              เร่งร้น

ภูธรภูเรศตี                                        สุรสั่ง     เองแฮ

ร้องสำทับช้างต้น                             เทิดแก้วมาเมือง

          ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังลพบุรี ในฤดูร้อน เสด็จประพาส “ป่าแก้ว” โปรดให้ข้าราชบริพารแต่งโคลงที่มีความหมายแสดงถึงความรักประกวดกัน

  คู่แข่งคนสำคัญของศรีปราชญ์คือพระเยาวราชแห่งเชียงใหม่ โดยพระเยาวราชขึ้นบทก่อนว่า

ครืนครืนใช่ฟ้ร้อง                     เรียมครวญ

หึ่งหึ่งใช่ลมหวน                               พีไหม้

ฝนตกใช่ฝนนวล                              พี่ทอด      ใจนา

ร้อนใช่ร้อนไฟไหม้                          พีร้อนรนกาม

เป็นการแสดงความคิดแบบกวี  ศรีปราชญ ก็โต้กลับโดยทวนคำคร่ำครวญว่า

เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม                ถึงพรหม

พาหมู่สัตว์ตกจม                             จ่อมม้วย

พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม                    ทบท่าว    ลงแฮ

             ————————-                     ——————

                   สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงขัดขึ้นว่า  ศรีปราชญืร้องไห้มากมาย จนน้ำท่วมถึงพรหมโลก ชั้น ๑๕ เขาพระสุมรุซึ่งเป็นหลักของโลกพังทลายหมดแล้ว     จะอยู๋อย่างไร

ศรีปราชญ์ก็แก้ด้วยปฏิภาณ และความรู้ด้านวรรณคดีว่า

หากอักนิฐพรหมฉ้วย                        พี่ไว้จึ่งคง

สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดมาก  จึงตรัสว่า 

“ศรีเอ๋ยเจ้าจงเป็นศรีปราชญ์เถิด”  พรอมกับพระราชทานพระธำรงให้ ๑ วง

          ข่าวที่ได้รับแต่งตั้งเป็น “ศรีปราชญ์” และได้รับพระราชทานแหวน คงเป็นที่เลื่องลือทั้งในวัง นอกวัง   โดยเฉพาะพระเจ้าเชียงใหม่ เห็นว่าชื่อไม่เหมาะสมกับรูป กล่าวตอบโต้เป็นโคลงกันว่า

พระเจ้าเชียงใหม่    :  ศรีเอยพระเจ้าฮื่อ   ปางใด

ศรีปราชญ์           :  ฮื่อเมื่อเสด็จไป      ป่าแก้ว

พระเจ้าเชียงใหม่    :  รัวลีบ่สดใส          สักหยาด

ศรีปราชญ์           :   ดำแต่นอกในแผ้ว     ผ่องเนื้อนพคุณ

          นับเป็นการแก้ได้อย่างงดงาม ทำนองยกย่องตนเองว่า ถึงจะรูปชั่วตัวดำ แต่จิตใจประดุจทองเนื้อเก้า  สำนวนนี้ยังทันสมัยใช้กันมาจนทุกวันนี้        แม้เวลาจะผ่านมากว่า  ๓๐๐  ปี

          ชื่อเสียงของศรีปราชญ์คงโด่งดังไปทั่ว แม้กระทั่งนายประตูก็ทักศรีปราชญ์ว่า 

นายประตู            :  แหวนนี้ท่านได้แต่     ใดมา

ศรีปราชญ์           :  เจ้าพิภพโลกา         ท่านให้

นายประตู            :  ทำชอบสิ่งใดนา       วานบอก

ศรีปราชญ์           :  เราแต่กลอนถวายไท้   ท่านให้รางวัล

          ความหนุ่มคะนอง ความจัดจ้านทางคารม ความทนงตนว่าเป็นเลิศทาการประพันธ์  ปฏภาณดี  ความรู้ดี  แต่ขาดสติ ทำให้ศรีปราชญ์ ต้องรับชะตากรรมอันหลกเลี่ยงมิได้

         

คืนวันลอยกระทง ศรีปราชญ์กล่าวชมกระทงของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า

มลักเห็นใบจากเจ้า                  นิรมิต

เป็นสำเภาไพจิตร                             แปดโล้

จักลงระวางวิด                               จวนแก่    อกเอย

แม้หนุ่มวันนั้นโอ้                              พี่เลี้ยงโดยสาร

          “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” ตำแหน่งสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นธิดาเจ้าแม่วัดดุสิต หรือ กรมพระเทพามาตร พระนมของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอำไพ มีบุตร ๓ คน  คือ

๑. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพใหญ่สมัยพระนารายณ์ฯ

๒. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตในสมัยพระนารายณ์ฯ

๓. ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสมนเอกของพระนารายณ์ฯ

ตระกูลนี้สืบทอดมาจากพระยารามขุนนางมอญที่อพยพมาไทยในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มีบุตรหลานรับราชการสืบทอดกันมาจน ถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งตระกูลดังกล่าวเป็นต้นตระกูลของ “ราชวงศ์จักรี”(สายเจ้าพระยาโกษาธิบดี – ปาน)

          “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์”พระสนมเอก นัยว่าอายุแก่กว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อศรีปราชญ์ไปจี้จุดอ่อนเข้า จึงกล่าวโต้ตอบเชิงดูถูกศรีปราชญ์ว่า

หะหายกระต่ายเต้น                 ชมจันทร์

มันบ่เจียมตัวมัน                              ต่ำต้อย

นกยูงหากกระสัน                            ถึงเมฆ

มันบ่เจียมตัวน้อย                            ต่ำต้อยเดรัจฉาน

          ด้วยนิสัยของศรีปราชญ์ไม่ยอมแพ้ใครอยู่แล้ว มิได้คิดว่าอะไรควรมิควร จึงกล่าวโต้ตอบกลับไปทำนองว่า

หะหายกระต่ายเต้น                 ขมแข

สูงส่งสุดตาแล                                 สู่ฟ้า

ฤดูฤดีแด                                         สัตว์สู่    กันนา

อย่าว่าเราเจ้าข้า                              อยู่พื้นเดียวกัน

          พระสนมโกรธนำความไปกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่ศรีปราชญ์บังอาจกล่าวเกี้ยวประมาทพระสนม ทรงพิจารณาว่า

แม้จะไม่เกี่ยวข้องต้องโทษในส่วนพระองค์ ก็ต้องลงโทษตามกฎมณเฑียรบาล  จึงโปรดให้ศรีปราชญ์ไปทำงานหนัก ขนเลนในพระราชวังถ่ายโทษ  ขณะขนเลนอยู่ บังเอิญพระสนมเดินผ่านไป หรือเจตนาจะไปเยาะเย้ยก็ได้ เรื่องจึงเกิดขึ้นอีกตามเคย  จนต้องโทษหนักเป็นครั้งที่สอง และกระทำผิดในพระราชวัง มีโทษถึงประหารชีวิต แต่โทษประหารได้ยกให้ ตามที่พระมหาราชครูผู้เป็นบิดาได้ขอไว้  จึงให้เนรเทศไปฝากไว้กับพระยานครศรีธรรมราชเป็นการชั่วคราว

          ศรีปราชญ์ขณะนั้นเป็นหนุ่มเต็มตัว ประกอบกับพระยานครฯ กำลังฟื้นฟูด้านกวีอยู่ทางปักษ์ใต้  ศรีปราชญ์จึงได้ใกล้ชิดกับพระยานครฯ  ในฐานะกวีเอกจากกรุงศรีอยุธยา  ในประวัติกล่าวว่าศรีปราชญ์ได้ไปติดต่อเชิงชู้สาวกับนางในของพระยานครฯ  พระยานครฯ จึงพาลหาเหตุจับศรีปราชญ์ประหารชีวิตเสีย  ก่อนประหาร ศรีปราชญ์ได้แต่โคลงไว้บทหนึ่งว่า

ธรณีนี่นี้                    เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์                 หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร                 เราชอบ

เราบ่ผิดท่านมล้าง                  ดาบนี้คืนสนอง

 

ตำราหลายฉบับเขียนว่า ศรีปราชญ์ใช้เท้าเขียนไว้บนพื้นทราย ก่อนทีเพชฌฆาตจะลงดาบ เป็นการแช่งพระยานครฯ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้   เพราะนักโทษประหารจะต้องถูกพันธนาการอย่างหนาแน่น จะเอาเท้อเขียนได้อย่างไร

          เมื่อขาดศรีปราชญ์ การกวีในราชสำนักคงเงียบเหงาไป จึงสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้เรียกตัวกลับ ครั้นทรงทราบว่าพระนครฯ ได้ประหารศรีปราชญ์เสียแล้ว ก็ทรงพระพิโรธ จึงให้ประหารชีวิตพระยานครฯ ในที่สุด

          บทนิพนธ์ของศรีปราชญ์

๑. อนิรุทธคำฉันท์  สร้างขึ้นเพราะบิดาประมาทว่า แต่ดีแต่โคลง ศรีปราชญ์จึงมุมานะจนสำเร็จ

๒. กำศรวลศรีปราชญ์ แต่งขณะที่เดินทางไปนครศรีธรรมราช ตามพระราชอาญา

๓. โคลงบทอื่นๆ เช่น

เจ้าอย่าย้ายคิ้วให้                   เรียมเหงา

ดูดุจนายพรานเขา                         ล่อเนื้อ

จะยิงก็ยิงเอา                                  อกพี่   ราแม่

เจ็บไป่ปานเจ้าเงื้อ                          เงือดแล้วราถอย

 

โคลงกระทู้ที่ไม่มีความหมาย เช่น

โก    มลเดียรดาษพื้น              สินธู

วา     ลุกาประดับดู                          ดั่งแก้ว

ปา    รังระบัดปู                                ปุยนุ่น    เปรียบฤๅ

เปิด    จอกกระจับแผ้ว                    ผ่องน้ำเห็นปลา

 

ทะ  เลแม่ว่าห้วย                       เรียมฟัง

ลุ่ม   ว่าดอนเรียมหวัง                     ว่าด้วย

ปุ่ม   เปลือกว่าปะการัง                    เรียมร่วม   คำแม่

ปู     ว่าหอยแม้กล้วย                       ว่ากล้ายเรียมตาม

 

รองศาสตราจารย์ ไกนุช  ศิริพูน  คำขอบคุณทุกท่านที่อ่านและนำออกเผยแพร่  ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

*    อ่านเถิดอ่านนะแหม้             อย่าแคลน

อ่านเพิ่มอ่านพูนแสน               สิริล้ำ

อ่านนิดอ่านหน่อยแค่น             อ่านก็    ดีเฮย

อ่านอ่านยิ่งอ่านซ้ำ                  ซาบซึ้งทรวงเกษม*

                                           

*ชวลิต  ผู้ภักดี ประพันธ์

 

……………………………………………………………………………………………