ชื่อเรื่อง ความหลากหลายของมันมือเสือพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของพื้นที่บ้านศรีสรรเพชญ์ ตำบลอู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้วิจัย  รองศาสตราจารย์ ดร.วันทนี สว่างอารมณ์, อาจารย์ภัทรภร เอื้อรักสกุล, ดร.ประกรรษวัต จันทร์ประไพ, นางสาว พิมชนก ชื่นบาน, นางสาวณัฐกาญจน์ โชติงาม และ นายคมสันต์ ขุนสิงห์

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปี พ.ศ. 2560

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1.ศึกษาความหลากหลายของพืชสกุลมันมือเสือ 2. การทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์พืชมันมือเสือโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3.การวิเคราะห์สารสำคัญจากหัวพืชมันมือเสือพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก   วิธีการศึกษาใช้การสำรวจ สัมภาษณ์และการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าพืชมันมือเสือที่เกษตรกรปลูกมี 2 ชนิดคือ Dioscorea esculenta var. esculenta (Roxburgh ex Prain &Burkill) R. Knuth และ var. spinosa (Lour.) Burkill นอกจากนี้มีการปลูกมันสกุล Dioscorea ชนิดอื่นอีก 3 พันธุ์ คือมันนกหรือมันเห็บ (D. bulbifera L.) มันเลือดหรือมันแข้งช้าง (D. alata L.) และมันม่วง (D. alata L.) ในส่วนการขยายพันธุ์มันมือเสือด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสูตรอาหาร Murashige & Skoog (MS) ที่เติมฮอร์โมนกลุ่มไซโทไคนิน(BAP)ในระดับ 0.0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 mg/l และ BAP 1.5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.5 mg/l และถ่านกัมมันต์ร้อยละ 0.1 พบว่าการขยายพันธุ์มันมือเสือ D. esculenta var. spinosa โดยใช้ BAP 1.50 และ 2.0 mg/l ชักนำให้พืชมีจำนวนยอดมากที่สุดและ BAP 1.5 + NAA  5 mg/l สามารถกระตุ้นความสูงของพืชและส่งเสริมการเจริญของรากได้อย่างรวดเร็วกว่าชุดการทดลองที่ไม่ได้เติมฮอร์โมน NAA ส่วนมันมือเสือชนิด D. esculenta var. esculenta พบว่า BAP 1.0 mg/l สามารถชักนำให้เพิ่มปริมาณยอดได้มากที่สุด และ BAP 1.5 mg/l ชักนำเกิดรากมากที่สุด ส่วน BAP   1.5 mg/l + NAA  0.5 mg/l ชักนำการเกิดแคลลัสได้ดี การวิเคราะห์สารในหัวพืชมีโปรตีนร้อยละ 1.66 ไขมันร้อยละ 0.29 เส้นใยร้อยละ 0.65 แป้งมีปริมาณอะไมโลสร้อยละ 20 อะไมโลเพคตินร้อยละ 19 และสารสำคัญที่มีได้แก่สารเทอร์ปินอยด์ ฟลาโวนอยด์ ซาโปนิน แทนนิน และแอลคาลอยด์

คำสำคัญ: พืชสกุลมันมือเสือ (Dioscorea spp.)  พืชเศรษฐกิจท้องถิ่น (Native Economic Plants)  บ้านศรีสรรเพชญ์ (Baan Sri Sunpetch)


 

Title Diversity of Dioscorea spp. Native Economic Plants in Baan Sri Sunpetch  Tambon U-Thong,  Supan Buri Province

Researchers Associate professor Dr. Wantanee Sawangarom, Pattaraporn U-raksakul, Dr. Pragatsawat Chanprapai, Ms. Phimchanok chuenban, Ms. Natthakarn  Chotngarm,  Mr. Komsan  Khunsing

University Bansomdejchaopraya Rajabhat University

Year 2017

Abstract

   Diversity of Dioscorea spp. the native economic plants in Baan Sri Sunpetch, Tambon U-Thong, Supan Buri Province has objectives to study the varieties of  the Dioscorea species, the experiment of plant propagation by using tissue culture and analysis of chemical composition in tuber of Dioscorea species which the farmer favorite grown.     The study used surveying, interview and experimental method. Then the results revealed that they planted lesser yam in 2 varieties, Dioscorea esculenta var. esculenta (Roxburgh ex Prain& Burkill) R. Knuth and var. spinosa (Lour.) Burkill. Besides these there were planted the other 3 species of Dioscorea ; man nok or kling klang dong (D. bulbifera L.), man lueat or man khaeng chang (D. alata L.) and man moung (D. alata L.). The propagation of plant by tissue culture in Murashige & Skoog (MS) media supplement with activated charcoal 0.1% and cytokinin; BAP 0.0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 mg/l and BAP 1.5 + NAA 0.5 m/l, the results showed that for D. esculenta var. spinosa the treatment of BAP 1.5 and 2.0 mg/l was the best of plant treatment which has produced number of shootlets and the most highest stem. The treatment with combination of BAP 1.5 mg/l + NAA 0.5 mg/l could stimulate stem elongation and root development better than the other treatments which did not used NAA supplement. For the D.esculenta var. esculenta found that BAP 1.0 mg/l induced the most of shootlets. The media supplemented with BAP 1.5 mg/l induced rootlets better than the others. Besides these the media of BAP 1.5 mg/l and BAP 1.5 mg/l + NAA 0.5 mg/l could stimulate plant to produce callus also. The preliminary study of chemical composition in tuber found protein 1.66 %, fat 0.29 %, fiber 0.65%, starch; amylose 20.00% and amylopectin 19%. The other metabolites found were terpenoid, flavonoid, saponin, tannin and alkaloid also.

Keywords:  Dioscorea spp., Native Economic Plants, Baan Sri Sunpetch


 

ผลการวิจัย

   งานวิจัยเรื่องความหลากหลายของมันมือเสือพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของพื้นที่บ้านศรีสรรเพชญ์ ตำบลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชสกุลมันมือเสือ (Dioscorea spp.) ที่มีในพื้นที่บ้านศรีสรรเพชญ์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การทดลองหาสภาวะที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์พืชมันมือเสือที่พบในพื้นที่บ้านศรีสรรเพชญ์ ฯ โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระดับห้องปฏิบัติการ และทดลองหาสารสำคัญจากพืชสกุลมันมือเสือพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก ในครั้งนี้ มีผลการวิจัยดังนี้

1. การศึกษาความหลากหลายชนิดมันมือเสือ
2. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ
3. การหาสารสำคัญในพืช

1. การศึกษาความหลากหลายชนิดมันมือเสือ

   การเก็บตัวอย่างหัวมันมันมือเสือจากแปลงปลูกของเกษตรกร มาศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและอนุกรมวิธานในห้องปฏิบัติการ พบว่ามันมือเสือที่ได้มาจากแปลงปลูกของเกษตรกรมี 2 สายพันธุ์ คือ Dioscorea esculenta var. spinosa (Lour.) Burkill และDioscorea esculenta var. esculenta (Roxburgh ex Prain &Burkill) R. Knuth

1.1 อนุกรมวิธานและสัณฐานวิทยาของมันมือเสือ 2 varieties

      การตรวจสอบลักษณะอนุกรมวิธาน(Key to Dioscorea esculenta var. spinosa and  D. esculenta var. esculenta)  โดยใช้แนวทางของ Thawatchai Santisuk และ Kai Larsen(2009) รูปวิธานของมันมือเสือ 2 varieties มีดังนี้

1. ลำต้นพัน (หลัก) เวียนทางด้านขวา (clockwise) ใบติดแบบตรงข้าม (opposite)

1. ลำต้นพัน (หลัก) เวียนทางด้านซ้าย (anticlockwise) ใบติดแบบสลับ(alternate) ………………….

2  ใบประกอบ (compound leaves)

2 ใบเดี่ยว(simple leaf)   …………………..

ขอบใบเรียบ เว้าตรงโคนใบ      

3 ดอกมีเกสรตัวผู้ 3 สมบรูณ์ 3 อันไม่สมบูรณ์

ดอกมีเกสรเพศผู้สมบูรณ์ 6 อัน สมบูรณ์ทุกอัน                       ………………………..

4 ไม่มีขนปกคลุมลำต้น

4. มีขนปกคลุมลำต้น (เห็นชัดเจนตอนเป็นต้นอ่อน)     …………………………

5. ขนไม่เป็นรูป T-shape ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อย 1-3 ดอก

5. ขนเป็นเส้นรูปตัวที มีดอกเดี่ยวติดอยู่บนช่อดอก ……….มันมือเสือ (Dioscorea esculenta)

6. ลำต้นไม่ปีน/พันสูงเกิน 3 เมตร รากพืชไม่มีหนาม ในปีแรกสร้างหัวสะสมอาหาร ซึ่งหัวที่สะสมอาหารต่อต้นอาจจะมีมากถึง 20 หัว ลักษณะของหัวแบนออกและคล้ายกับมือเสือ จึงเรียกว่ามันมือเสือ(tiger paw yam) ………….….. a)    D. esculenta var. esculenta

6. ลำต้นไต่ปีป่าย/พันสูงอย่างน้อย 5 เมตร มีอายุอยู่ได้หลายปี สร้างหัวเก็บอาหารใต้ดินเช่นกัน จำนวนหัวมีตั้งแต่ 1, 2 หรือมากกว่า ต่อ1 ต้นพืช ตามลำต้นและรากมีหนามสั้นๆ ลักษณะหัวพืชค่อนข้างกลมหรือยาวรีทรงกระบอก ไม่มีลักษณะแบนแบบกรงเล็บเสือ (tubers form often globose or short and cylindric with small rootlets outside) ………………. b)    D. esculenta var. spinosa

        สัณฐานวิทยาของพืชมันมือเสือแสดงดังภาพที่ 4.1, 4.2, 4.3, 4.4

ภาพที่ 4.1 ต้นมันมือเสือ

A ยอดต้นอ่อนที่เพิ่งงอก     B ใบและต้นอ่อนมีขนปกคลุม(pubescent)

C มันมือเสือที่แปลงเกษตรกร    D  ลำต้นเวียนซ้าย(anticlockwise)

ภาพที่ 4. 2 ลักษณะหัวมันมือเสือชนิด  a) D. esculenta var. esculenta (Lour.) Burkill

 

ภาพที่ 4. 3 ลักษณะหัวมันมือเสือชนิด b) D. esculenta var. spinosa (Lour.) Burkill R. Knuth

 

ภาพที่ 4. 4 ลักษณะสีเนื้อหัวมันมือเสือ สีขาวนวลของ (D. esculenta var. spinosa)

 

1.2 มันชนิดอื่นๆ ที่เกษตรกรปลูก

การสำรวจการปลูกมันของเกษตรกรพบว่ามีพันธุ์มันที่เกษตรกรปลูกมีอีก 3 ชนิดคือมันม่วง         (D. alata L.) มันเห็บ (D. bulbifera L.) และมันเลือดหรือมันแข้งช้าง (D. alata L.) ดังภาพที่ 4.5-4.7

ภาพที่ 4. 5 มันเห็บ (D. bulbifera L.)

 

ภาพที่ 4. 6 มันเลือดหรือมันแข้งช้าง (D. alata L.)

 

ภาพที่ 4. 7 มันม่วง (D. alata L.)

 

1.3 มูลค่าทางเศรษฐกิจของมันมือเสือ

การศึกษาผลตอบแทนที่เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เป็นรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันมือเสือ ในบ้านศรีสรรเพชญ์ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในแต่ละรอบฤดูการปลูกแต่ละครั้ง(รอบปี) โดยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกร พบว่าพืชมันมือเสือให้ผลผลิตหัวมันต่อไร่ มีน้ำหนักประมาณไร่ละ        2.5 – 3.0 ตันต่อไร่  ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 30,000 บาทต่อไร่ ทั้งนี้ราคาของผลผลิตต่อกิโลกรัมมีตั้งแต่ กิโลกรัมละ 15 – 20 บาท หรือสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณผลิตมันที่ออกสู่ตลาด ช่วงที่มีผลผลิตมากราคาจะต่ำ ถ้ามีผลผลิตออกน้อยราคาจะค่อนข้างสูง อาจมากกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม

2. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ

2.1 มันมือเสือสายพันธุ์สิโนซา (D. esculenta var. spinosa)

     การศึกษาการเจริญของต้นมันมือเสือชนิด var.  spinosa ที่ใช้ตาพืชมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพที่ปลอดเชื้อในอาหารสูตร MS ที่เติมฮอร์โมนกลุ่มไซโทไคนิน(BAP)ในระดับ 0.0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 mg/l และ BAP 1.5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.5 mg/l และถ่านกัมมันต์ร้อยละ 0.1  เป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีผลการศึกษา ดังตารางที่ 4.1 และภาพที่ 4.8

ตารางที่ 4.1 การเติบโตและการเจริญของเนื้อเยื่อมันมือเสือ ชนิด D. esculenta var. spinosa

Treatmen ความเข้มข้นฮอร์โมน (mg/l) ค่าเฉลี่ยความสูงลำต้น (cm) *ค่าเฉลี่ยความสูงลำต้น ± SE ค่าเฉลี่ยจำนวนใบ (ใบ)  *ค่าเฉลี่ยจำนวนใบ ± SE
 BAP  NAA
T1  0  0  5.32  5.32 ± 0.47a  8.5  8.5 ± 0.64a
T2  0.5 0  4.62 4.62 ± 0..32a  11  11 ± 1.08ab
 T3  1  0  5.40  5.40 ± 0.37ab  10.5  10.5 ± 0.64ab
 T4  1.5  0  5.75  5.75 ± 0..69ab 10.2 10.2 ± 1.03ab
 T5  2 0  6.32  6.32 ± 0.06b 12.5  12.5 ± 0.86bc
 T6  1.5  0.5  7.80  7.80 ± 0.43a  13.5 13.5 ± 1.19c

* คือ ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

* ค่าตัวเลขเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรที่เหมือนกันในแนวตั้งไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ P<0.05 โดยวิธี DMRT

จากตารางที่ 4.1 การเจริญของต้นมันมือเสือชนิด var.  spinosa ที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้จะพบว่าส่วนสูงของต้นพืช(explant) ที่สูงที่สุดคือชุดการทดลองที่ 6 ด้วยค่าเฉลี่ยความสูง7.5 ± 0.43 cm รองลงไปคือ ชุดการทดลองที่ 5 ,4, ,3,1 และ 2 มีค่าเฉลี่ยความสูงที่ 6.325 ± 0.06, 5.75 ± 0.69, 5.40 ± 0.37,  5.32 ± 0.47 และ 4.62 ± 0..32 cm ตามลำดับ   ส่วนจำนวนใบของต้นพืชที่เกิดมากที่สุดคือชุดการทดลองที่ 6 มีจำนวนใบมากที่สุด คือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 13.5 ± 1.19 ใบ ต่อจากนั้นคือชุดการทดลองที่ 5, 2, 3, 4 และ 1 ตามลำดับ ส่วนการเจริญทางคุณภาพของพืชพิจารณาได้จาก ภาพที่ 4.8

ภาพที่ 4.8 การเจริญเติบโตมันมือเสือชนิด D. esculenta var. spinosa (Lour.) Burkill 8 สัปดาห์

โดยสรุปพบว่าสูตรอาหารที่มี BAP 1.50 และ 2.0 mg/l ชักนำให้มีจำนวนยอดพืชมากที่สุดและสูตรที่มี BAP 1.5 + NAA  5 mg/l สามารถกระตุ้นความสูงของพืชและส่งเสริมการเจริญของรากได้อย่างรวดเร็วกว่าชุดการทดลองที่ไม่ได้เติมฮอร์โมน NAA

 

2.2 มันมือเสือสายพันธุ์เอสคูเลนตา (D. esculenta var. esculenta)

การเจริญของต้นมันมือเสือชนิด var.  esculenta ที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้มีผลการศึกษาดังตารางที่ 4.2 และภาพที่ 4.9

ตารางที่ 4. 2 การเติบโตและการเจริญของเนื้อเยื่อมันมือเสือ ชนิด D. esculenta var. esculenta

Treatmen ความเข้มข้นฮอร์โมน (mg/l) ค่าเฉลี่ยความสูงลำต้น (cm) *ค่าเฉลี่ยความสูงลำต้น ± SE ค่าเฉลี่ยจำนวนใบ (ใบ)  *ค่าเฉลี่ยจำนวนใบ ± SE
 BAP  NAA
T1  0  0  5.32  5.32 ± 0.47a  8.5  8.5 ± 0.64a
T2  0.5 0  4.62 4.62 ± 0..32a  11  11 ± 1.08ab
 T3  1  0  5.40  5.40 ± 0.37ab  10.5  10.5 ± 0.64ab
 T4  1.5  0  5.75  5.75 ± 0..69ab 10.2 10.2 ± 1.03ab
 T5  2 0  6.32  6.32 ± 0.06b 12.5  12.5 ± 0.86bc
 T6  1.5  0.5  7.80  7.80 ± 0.43a  13.5 13.5 ± 1.19c

* คือ ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

* ค่าตัวเลขเฉลี่ยที่ตามด้วยตัวอักษรที่เหมือนกันในแนวตั้งไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ P<0.05 โดยวิธี DMRT

   จากตารางที่ 4.2 จะพบว่าส่วนสูงของต้นพืช(explant) ที่สูงที่สุดคือชุดการทดลองที่ 3 (BAP 1mg/l) ซึ่งมีความสูง 6.55 ± 0.49 cm รองลงไปคือชุดการทดลองที่ 1, 2, 4, และ 5 ตามลำดับ คือมีความสูง 6.1 ± 0.44, 5.5 ± 0.57, 5.4 ± 0.86, 4.22 ± 1.63 และ 3.7 ± 1.08 cm   ส่วนจำนวนใบของต้นพืชที่เกิดมากที่สุดคือชุดการทดลองที่ 3 มีจำนวนใบมากที่สุดคือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.5 ± 2.32ใบ ต่อจากนั้นคือ ชุดการทดลองที่ 1, 4, 2, 5และ 6 คือมีจำนวนใบเฉลี่ยอยู่ที่ 7.75 ± 0.85, 7.25 ± 1.03, 6.5 ± 1.65, 5 ± 1.87 และ 3.75 ± 0.94 ใบ ตามลำดับ  ส่วนการเจริญทางคุณภาพของพืชพิจารณาได้ ดังภาพที่ 4.9

ภาพที่ 4.9 การเจริญเติบโตมันมือเสือชนิด D. esculenta var. esculenta  8 สัปดาห์

โดยสรุปมันมือเสือชนิด D. esculenta var. esculenta นี้พบว่า BAP 1.0 mg/l สามารถชักนำให้เพิ่มปริมาณยอดได้มากที่สุด และสูตรอาหารที่เติม BAP 1.5 mg/l ชักนำเกิดรากมากที่สุด ส่วนในอาหารที่มี BAP  1.5 mg/l และ BAP   1.5 mg/l + NAA  0.5 mg/l ชักนำให้พืชมีการพัฒนาเป็นแคลลัสได้ดี

3. การหาสารสำคัญในหัวพืชมันมือเสือ

การหาสารสำคัญในหัวพืชมันมือเสือจากพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก(D. esculenta var. spinosa) โดยวิธีสกัดโดยใช้ Soxhlet’s apparatus ในหัวมันมือเสือมีโปรตีนร้อยละ 1.66 ไขมันร้อยละ 0.29 เส้นใยหยาบร้อยละ 0.65 แป้งมีปริมาณ อะไมโลส ร้อยละ 20 และอะไมโลเพคตินร้อยละ 19 (สุมลรัตน์ อัมพวันและคณะ(2557)

การหาสารสำคัญในหัวพืชมันมือเสือจากพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกโดยวิธีการตรวจสอบพฤกษเคมีเบื้องต้น ได้แก่ การตรวจสอบกลุ่มของสารเทอร์ปินอยด์ ฟลาโวนอยด์ ซาโปนิน แทนนินและแอลคาลอยด์ จากสิ่งสกัดเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซิเตท และเมทานอล จากหัวมันมือเสือ พบว่า

สิ่งสกัดเฮกเซนให้เปอร์เซ็นต์ของสิ่งสกัดเพียง 0.01% ทำให้ไม่สามารถนำสิ่งสกัดนี้มาใช้ในการตรวจสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นได้ ดังนั้น มีเพียงสิ่งสกัดไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซิเตท และเมทานอล                ที่สามารถนำมาตรวจสอบสารสำคัญเบื้องต้นได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการศึกษาอื่นต่อไป ดังแสดงในตรารางที่ 4.3

ตารางที่ 4.3 สิ่งสกัดเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซิเตท และเมทานอล ที่สกัดได้จากหัวมันมือเสือ

ตารางที่ 4.3 สิ่งสกัดเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซิเตท และเมทานอล ที่สกัดได้จากหัวมันมือเสือ

สิ่งสกัด

% Yield (w/w)

Hexane (เฮกเซน)

0.01

Dichloromethane (ไดคลอโรมีเทน)

0.17

Ethyl Acetate (เอทธิลอะซิเตท)

0.46

Methanol (เมทานอล)

2.15

การตรวจสอบกลุ่มของสารสำคัญเบื้องต้นที่พบอยู่ในสิ่งสกัดไดคลอโรมีเทน เอทธิลอะซิเตท และเมทานอล ของหัวมันมือเสือ พบว่า ในสิ่งสกัดทั้ง 3 ชนิด มีกลุ่มของสารเทอร์ปินอยด์ ฟลาโวนอยด์ ซาโปนิน แทนนิน และแอลคาลอยด์ ทั้งหมด ดังแสดงในตารางที่ 4.4

ตารางที่ 4.4 สารองค์ประกอบหลักที่พบในสิ่งสกัดมันมือเสือ

กลุ่มของสาร ผลการตรวจสอบ*
 ไดคลอโรมีเทน  เอทธิลอะซิเตท  เมทานอล
 เทอร์ปินอยด์  + +++ +++
 ฟลาโวนอยด์  +  ++ ++
 ซาโปนิน  ++  + +++
 แทนนิน  +++  +++  +++
 แอลคาลอยด์  +  ++  ++

* (-): Negative test, (+): Weak positive test, (++): Positive test, (+++): Test strongly positive.

   จากตารางที่ 4.4 จะเห็นว่า แทนนิน เป็นกลุ่มของสารที่สามารถพบได้มากที่สุดในทั้งสามสิ่งสกัด เทอร์ปินอยด์ เป็นกลุ่มของสารที่สามารถพบได้มากในสิ่งสกัดเอทธิลอะซิเตทและเมทานอล ส่วนซาโปนินสามารถพบได้มากที่สุดในสิ่งสกัดเมทานอล จากภาพรวมแล้วนั้นสิ่งสกัดเอทธิลอะซเตทและเมทานอลจะพบกลุ่มของสารที่มีความใกล้เคียงกัน รวมถึงปริมาณอีกด้วย

   จากการตรวจสอบกลุ่มของสารที่พบในมันมือเสือเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่า สิ่งสกัดที่ได้จากมันมือเสือนั้นสามารถนำไปใช้ในงานการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพได้หลากหลาย ได้แก่ antioxidant activity, anticancer activity รวมถึง antimicrobial activity ได้อย่างน่าสนใจ ถ้าได้มีการนำไปทดสอบในโอกาสต่อไป