Category Archives: ด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

โครงการสรรหา “กุลบุตรและกุลธิดากาชาด”

ชื่อการแข่งขัน : โครงการสรรหา “กุลบุตรและกุลธิดากาชาด” ประจำปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒

ชื่อผู้เข้าร่วมประกวดแข่งขันนายณัฏฐพันธ์  แสงคำ

วัน / เวลา / สถานที่ : ๒ – ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ / ห้องประชุมชั้น ๑๒ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ประเภท (เดี่ยว/ทีม) : เดี่ยว

รางวัลที่ได้รับ : กุลบุตรกาชาด

 

โครงการสรรหา “กุลบุตรและกุลธิดากาชาด” ประจำปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ สำนักกิจการนักศึกษาได้ดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาผู้เป็นตัวแทนในการประกวด โดยการใช้กิจกรรม “การประกวดทูตกิจกรรม ประจำ ๒๕๖๐” มาเป็นเครื่องมือ ที่มุ่งเน้นการเฟ้นหานักศึกษาที่มีคุณสมบัติทางด้านบุคลิกภาพที่ดี ไม่เพียงภายนอกเท่านั้นแต่หมายรวมถึงบุคลิกภาพภายในที่สามารถนำเสนอผ่านสายตา การพูด ไหวพริบการตอบคำถาม และจิตใจที่ตรงตามอัตลักษณ์สของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ในการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีทางสำนักกิจการนักศึกษาได้ดำเนินการตามหลักการที่นางสาวอรชา จันทร์นุ่ม ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ “การเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีต้องการพื้นฐานในการส่งเสริมอย่างไร” ว่า

1.การที่บุคคลมีความเข้าใจและรู้จักตนเองได้ดีนั้น ย่อมหมายถึงว่าบุคคลได้สามารถประสานสัมพันธ์ระหว่างการมองตนเอง และประสบการณ์แห่งความเป็นจริงที่มีอยู่ได้ ทำให้บุคคลไม่เกิดความขัดแย้งในตนเอง บุคลิกภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะของการที่ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อ สังคม แต่ในทางตรงข้าม ถ้าบุคคลไม่สามารถที่จะมองตนเองได้สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว ก็จะเกิดความขัดแย้งในตนเอง ทำให้ต้องดิ้นรนเพื่อลดความขัดแย้งในตนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเหตุให้บุคคลเกิดบุคลิกภาพในด้านของการต่อต้านสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง ขาดความนับถือตนเอง ดังนั้น การสร้างเสริมบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องที่จะเน้นเกี่ยวกับการให้บุคคลมีการรับ รู้ตนเองได้ตามความเป็นจริง (self perception) เพื่อบุคคลจะได้มีการมองตนเอง (self concept) อย่างถูกต้อง ซึ่งจะได้พัฒนาบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมต่อไป

2.ปฏิสัมพันธ์ในสังคม (social interaction) ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาพลวัตได้กล่าวไว้ว่าการที่บุคคลจะเกิดมีบุคลิกภาพอย่างไรนั้น เป็นผลของการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ซึ่งจะทำให้บุคคลได้พบกับลักษณะของความด้อย-ความเด่น ตลอดจนการมีครรลองชีวิตที่เป็นของตนเอง ปฏิสัมพันธ์ในสังคมจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเพราะทำให้บุคคลได้มี โอกาสรับรู้ตนเองจากภาพการมองของผู้อื่น ซึ่งเป็นเสมือนกระจกเงาฉายภาพตัวตนของบุคคลออกมาได้ชัดเจนกว่าการที่บุคคล มองตนเองเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจจะมีอคติสำหรับตนเองด้วยในบางครั้งหรือบ่อยครั้ง การรับรู้ตนเองอย่าง ถูกต้องจะทำให้บุคคลสามารถแสดงออกซึ่งบทบาทที่เหมาะสมและเกิดบุคลิกภาพที่ พึงประสงค์ตามมาด้วย ความเด่น-ความด้อย และครรลองชีวิตของบุคคลจะมีผลในการสร้างรูปแบบของบุคลิกภาพทั้งทางที่สังคม พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการสร้างเสริมบุคลิกภาพในบุคคลก็ควรจะได้คำนึงถึงความสำคัญของปฏิ สัมพันธ์ในสังคมประกอบด้วยอีกประการหนึ่ง

3.การเรียนรู้ทางสังคม (social learning)ทฤษฎี การเรียนรู้ทางสังคมได้ให้แนวคิดพื้นฐานสำคัญว่าการเรียนรู้ทางสังคมนั้น เป็นกระบวนการที่บุคคลไดรับข้อมูลต่างๆ จากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม โดยจะมีกระบวนการจำ และนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามต่อไป นักจิตวิทยาได้เน้นความสำคัญในแนวคิดนี้ด้วยว่า การเรียนรู้และการแสดงออกเป็นเรื่องที่มีความแตกต่างกัน คือการเรียนรู้ใช้เพียงการสังเกตเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว แต่การแสดงออกเป็นพฤติกรรมนั้นจะต้องมีการใช้ทั้งแบบอย่างที่ได้รับมาจากการ สังเกตและ กระบวนการที่จะเลือกแบบอย่างที่เหมาะสมมาใช้ ดังนั้นจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจะช่วยทำให้เราได้ทราบว่า บุคลิกภาพของบุคคลที่เกิดขึ้นมานั้น ต้องอาศัยทั้งการที่บุคคลมีความจำในแบบอย่างของพฤติกรรมของผู้อื่น แล้วนำมาเข้ากระบวนการเลือกสรร แล้วจึงแสดงออกเป็นบุคลิกภาพที่ปรากฏให้เห็น ฉะนั้นถ้าหากจะให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมแล้ว การสร้างเสริมบุคลิกภาพก็ควรจะมีขั้นตอนของการให้บุคคลได้สังเกตแบบอย่างพฤติกรรมที่เหมาะสม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการเลือกสรรเพื่อพัฒนาเป็นบุคลิกภาพของตนเอง

4.ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะนี้ค่อนข้างจะเป็นพื้นฐานของบุคลิกภาพที่ปรากฎทางกายและสมองบางอย่าง ซึ่งบุคคลที่เกิดมาแล้วจะเลือกหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่นคนเตี้ย โดยพ่อแม่ทั้งสองคน ถึงแม้จะได้รับอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักโภชนาการก็จะมีการเติบโตเพิ่มมากกว่าพ่อแม่บ้าง แต่ก็คงจะไม่เหมือนกับคนที่มีพันธุกรรมเป็นคนสูงทั้ง ครอบครัว หรือโรคบางอย่างที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น สติปัญญาอ่อน ตาบอดสี ก็คงจะยากที่จะได้รับการแก้ไข ดังนั้นจึงจะเป็นเรื่องของการปรับตัวต่อสภาพทางพันธุกรรมที่มีอยู่มากกว่า แก้ไขให้หมดไป การเสริมสร้าง บุคลิกภาพตามพื้นฐานประการนี้ก็น่าจะเป็นการสร้างและเสริมบุคลิกภาพให้ดีตาม ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล มากกว่าการเปรียบตนเองกับบุคคลอื่น จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมบุคลิกภาพที่เหมาะสมทั้งสิ้น ซึ่งในการสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคมนั้น ก็จะได้อาศัยปัจจัยเหล่านี้ในการกำหนดวิธีการในการสร้างและเสริมบุคลิกภาพ ต่อไปในการสร้างและเสริมบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ควรที่จะต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ การสร้างบุคลิกภาพ และการเสริมหรือการปรับปรุงบุคลิกภาพ การสร้างบุคลิกภาพ หมายถึง กระบวนการที่จะทำให้เกิดบุคลิกภาพขึ้นในตัวของบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่จะต้องเริ่มสร้างสมมาตั้งแต่เยาว์วัย จึงจะทำให้เกิดบุคลิก ภาพที่พึงประสงค์ของสังคมได้ สถาบันทางสังคม

          บุคลิกภาพนั้นนอกจากจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้บุคคลแต่ละคน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยส่วนตัวของแต่ละบุคคลแล้ว ยังสามารถมีส่วนช่วยในการ เลือกอาชีพ ให้เหมาะสมกับตัวคุณได้อีกด้วย ดังที่ปรากฏใน “ทฤษฎีการเลือกอาชีพ” ของของ John L. Holland ซึ่งเชื่อว่าบุคลิกภาพของคนจะสะท้อนผ่านการเลือกอาชีพของตน โดยเหตุผลในการเลือกอาชีพนั้นเกิดจากการผสมผสานความคิดต่อตัวเอง และความเข้าใจต่ออาชีพที่เลือก นั่นคือ คนที่เลือกอาชีพได้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนมากที่สุด จะมีความพึงพอใจในอาชีพและส่งผลให้ประสบความสำเร็จในอาชีพนั้นๆ ได้

บุคลิกภาพ คือ ลักษณะโดยรวมของพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในของแต่ละบุคคลซึ่งรวมถึงความสามารถ ความถนัด ความสนใจและความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของบุคคลนั้น อันส่งผลให้บุคคลมีพฤติกรรมและลักษณะนิสัยเฉพาะของแต่ละคนซึ่งแตกต่างกันไป

ดังนั้น เมื่อผู้ฝึกสอนสามารถดำเนินการพัฒนานักศึกษาทางด้านบุคลิกภาพในลักษณะรวมทั้งพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในของแต่ละบุคคล จะทำให้ผู้ที่ได้รับการฝึกสอนมีแนวทางในการสร้างอัตลักษณ์ของตนเองขึ้นมาในทางที่เหมาะ เป็นที่สนใจ และเป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้ที่พบเห็น

 

 


 

บรรณานุกรม

อรชา จันทร์นุ่ม. (2556). การเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีต้องการพื้นฐานในการส่งเสริมอย่างไร. ที่ตั้งเว็บไซต์https://sites.google.com/site/orachajannum/8-1.[เข้าค้นหาเมื่อวันที่ 11กรกฎาคม 2560].

 

 

 

อาจารย์พรทิพย์  เหลียวตระกูล (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ) ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทอุดมศึกษา ในการประกวดโครงการต้นแบบพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทย 12 ประการ จากคณะกรรมการจัดงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมไทย

อาจารย์พรทิพย์  เหลียวตระกูล (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ) ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทอุดมศึกษา ในการประกวดโครงการต้นแบบพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทย 12 ประการ จากคณะกรรมการจัดงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์ (สาขาวิชาเคมี) ได้รับรางวัล Session Best Paper International conference of Higher Education and Innovation Group (HEAIG) Pattaya (Thailand)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์ (สาขาวิชาเคมี) ได้รับรางวัล Session Best Paper International conference of Higher Education and Innovation Group (HEAIG) Pattaya (Thailand) Jan. 16-17. 2017 จาก International Scientific Academy of Engineering & Technology

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐดนัย  สิงห์คลีวรรณ (สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์) รางวัลผลงานนวัตกรรมดี จากการประกวด นวัตกรรมซอฟต์แวร์ด้านสุขภาพ หัวข้อ ICT Innovations for eHealth & mHealth ประจำปี 2560

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐดนัย  สิงห์คลีวรรณ (สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์)รางวัลผลงานนวัตกรรมดี จากการประกวด นวัตกรรมซอฟต์แวร์ด้านสุขภาพ หัวข้อ ICT Innovations for eHealth & mHealth ประจำปี 2560 ซึ่งจัดโดยกระทรวงสาธารณสุข จากผลงานวิจัย ระบบสารสนเทศสาหรับบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล (WepMEt) จากกระทรวงสาธารณสุข

ผศ.ดร.ประไพ  ศรีดามา (สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์) ได้รับรางวัล รองชมเชย กลุ่มวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาคบรรยาย เรื่อง การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับสารคดีสัตว์ในรูปแบบภาพเสมือนจริง 3 มิติด้วยเทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน

ผศ.ดร.ประไพ  ศรีดามา (สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์) ได้รับรางวัล รองชมเชย กลุ่มวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาคบรรยาย เรื่อง การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับสารคดีสัตว์ในรูปแบบภาพเสมือนจริง 3 มิติด้วยเทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 22-23 ธันวาคม 2559  จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์

ผศ.ดร.ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร (สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย) ได้รับรางวัลชมเชย การนำเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยาย กลุ่มผลงานวิจัยทั่วไป เรื่องการศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของยาประละไพลแคปซูลต่อการฟื้นฟูสตรีหลังคลอดในโรงพยาบาลบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผศ.ดร.ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร (สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย) ได้รับรางวัลชมเชย การนำเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยาย กลุ่มผลงานวิจัยทั่วไป เรื่องการศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของยาประละไพลแคปซูลต่อการฟื้นฟูสตรีหลังคลอดในโรงพยาบาลบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยพื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยทางเลือก วันที่ 31 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2559 จากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนทางเลือก

อาจารย์เอกราช วรสมุทรปราการ (สาขาวิชาแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย) ผลงานติดอันดับ 1 ใน 20 โครงการ Character Design Workshop

อาจารย์เอกราช วรสมุทรปราการ (สาขาวิชาแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย) ผลงานติดอันดับ 1 ใน 20 โครงการ Character Design Workshop เป็นงานที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบตัวละครทั่วประเทศได้ส่งผลงานการออกแบบมาสคอตประจำจังหวัดในประเทศไทย ผลงาน ติดอันดับ  1 ใน 20 ผลงานที่ผ่านเข้ารอบและคัดเลือกให้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ร่วมบันทึกเทปรายการ “ยิ่งถก กนกซัก” ทางช่อง 9 MCOT HD จากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

อาจารย์ดุษฎี เทิดบารมี (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา)  ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานระดับดีมาก ประเภทนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ในงาน “การประชุมใหญ่โครงการการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 HERP CONGRESS V”

อาจารย์ดุษฎี เทิดบารมี (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา)  ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานระดับดีมาก ประเภทนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ในงาน “การประชุมใหญ่โครงการการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 HERP CONGRESS V” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มความหลากหลาย กลุ่มครูของครู จากสำนักงาคณะกรรมการการอุดมศึกษา

อาจารย์ มบส.​(สาขาวิชาจุลชีววิทยา) ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานระดับดีมาก ประเภทนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ในงาน “การประชุมใหญ่โครงการการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 HERP CONGRESS V”

อาจารย์ ดร.รุ่งลักษณ์ แก้ววิเชียร, อาจารย์จรัญ  ประจันบาล, และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย ปทุมชาติพัฒน์ (สาขาวิชาจุลชีววิทยา) ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานระดับดีมาก  ประเภทนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ในงาน “การประชุมใหญ่โครงการการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 HERP CONGRESS V” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มความหลากหลายทางชีวภาพ จากสำนักงาคณะกรรมการการอุดมศึกษา

อาจารย์ ดร.รุ่งลักษณ์ แก้ววิเชียร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

อาจารย์ มบส. (สาขาวิชาเกษตรศาสตร์) ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานระดับดีมาก ประเภทนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ในงาน “การประชุมใหญ่โครงการการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 HERP CONGRESS V”

อาจารย์ ดร.สุนทรียา กาละวงศ์,  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  เหลืองสุวาลัย, และ อาจารย์เพ็ญแข  รุ่งเรือง (สาขาวิชาเกษตรศาสตร์) ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานระดับดีมาก ประเภทนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ในงาน “การประชุมใหญ่โครงการการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 HERP CONGRESS V” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มความหลากหลายทางชีวภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

อาจารย์ ดร.สุนทรียา กาละวงศ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  เหลืองสุวาลัย

อาจารย์เพ็ญแข  รุ่งเรือง