ชื่อผลงานทางวิชาการเศรษฐศาสตร์มหภาค 1 (Macroeconomics 1)

ประเภทผลงานทางวิชาการ หนังสือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 1

ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2560 (ฉบับปรับปรุงใหม่)

ข้อมูลเพิ่มเติม :  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ ผศ.ดร..กัมพล เชื้อแถว , อาจารย์นเรศ นิภากรพันธ์ , อาจารย์ธีรวีร์

เอี่ยมสุวรรณ และอาจารย์อรรถวิทย์ เฉลียวเกรียงไกร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : เนื้อหาสาระของหนังสือประกอบด้วย

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ ข้อแตกต่างระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ ประเภทของรายได้ประชาชาติ วิธีการจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติ รายได้ประชาชาติที่แท้จริงและเป็นตัวเงิน รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว ประโยชน์และข้อควรระวังหรือข้อบกพร่องของบัญชีรายได้ประชาติ

บทที่ 3 องค์ประกอบของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมในระบบเศรษฐกิจ การลงทุน การใช้จ่ายของรัฐบาล การส่งออกสุทธิ

บทที่ 4 การกำหนดรายได้ประจำชาติดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม การกำหนดระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ทฤษฎีตัวทวี ทฤษฎีว่าด้วยตัวเร่งความขัดแย้งของการประหยัด ช่วงห่างการเฟ้อและช่วงห่างการฝืด

บทที่ 5 การเงินและนโยบายการเงิน ความเป็นมาและวิวัฒนาการของการเงิน หน้าที่ของเงิน คุณลักษณะของเงิน ค่าของเงิน อุปทานของเงิน การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินกับราคาสินค้าและบริการ อุปสงค์ของเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ การเปลี่ยนแปลงระดับอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ

บทที่ 6 สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ สถาบันการเงินประเภทอื่นๆ

บทที่ 7 การคลังของรัฐบาล งบประมาณแผ่นดิน รายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาล หน้าที่สาธารณะ นโยบายการคลัง การวิเคราะห์ผลการใช้นโยบายการคลังด้วยตัวทวี

บทที่ 8 การค้าระหว่างประเทศ สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ ดุลการค้า ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

บทที่ 9 วัฏจักรธุรกิจ เงินเฟ้อและการว่างงาน วิธีการสร้างเส้นวัฏจักรธุรกิจและการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรธุรกิจ เงินเฟ้อ ประเภทของเงินเฟ้อ สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ ผลของภาวะเงินเฟ้อ การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ การว่างงาน ประเภทของการว่างงาน ผลกระทบของการว่างงานต่อระบบเศรษฐกิจ แนวทางการแก้ปัญหาการว่างงาน

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ :

วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยตัดสินในว่าจะเลือกผลิตอะไร อย่างไร เพื่อใคร เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยไม่จำกัดเกิดประโยชน์สูงสุด แบ่งเป็น 2 แขนง คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค โดยที่เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจหน่วยย่อย ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเศรษฐกิจโดยรวม

รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและการบริการที่ประชาชาติผลิตขึ้นได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยหักค่าใช้จ่ายที่เกินทุนและภาษีทางงอ้อมมีหลายประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นและผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ รายได้ประชาชาติ รายได้ส่วนบุคคลและรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้จริง

องค์ประกอบของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมในระบบเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การเปลี่ยนแปลงการบริโภคและการออม เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการออม เช่น สินทรัพย์ของผู้บริโภค โดยกำหนดให้รายได้ที่จ่ายได้จริงคงที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงในลักษณะทำให้เส้นการบริโภคหรือการออมเคลื่อนย้ายไปจากเส้นเดิม การลงทุน หมายถึง การใช้จ่ายในการซื้อสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อการผลิตสินค้าที่มิใช่ซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค แต่เป็นการซื้อสินค้าประเภททุนที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการในอนาคต

เงิน (Money) คือ สิ่งใดก็ได้ที่ทุกคนในสังคมยอมรับโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระสินค้าและบริการ การชำระหนี้ในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งยังเป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าสินค้าและบริการทั่วไปอีกด้วย วิวัฒนาการของเงินเริ่มจาก เงินในระยะแรกสังคมเริ่มมีการใช้วัตถุหรือสิ่งของบางชนิดเป็นเงิน เช่น หนังสัตว์ ยาสูบ วัว ควาย ฯลฯ เงินโลหะ เงินเหรียญ เงินกระดาษและระบบใช้เครดิต นโยบายการเงิน หมายถึง นโยบายของธนาคารกลางในการกำกับดูแลปริมาณเงิน และสินเชื่อโดยธนาคารกลางเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้า การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การรักษาองค์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม นโยบายการเงินที่สำคัญ มี 3 ประเภท ได้แก่

  1. การลดหรือการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
  2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย
  3. การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

บทบาทและหน้าที่ของสถาบันการเงินประเภทต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย อาทิเช่น

– ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Bank of Thailand : BOT) ทำหน้าที่ดูแลกำกับ เรื่อง การเงินของประเทศ โดยการออกกฎเกณฑ์และควบคุมการเงิน นำธนบัตรไทยออกใช้หมุนเวียน ซึ่งรวมถึงการควบคุมการจ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศและเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

ภาวะของธนาคารแห่งประเทศไทย

  1. ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นองค์การของรัฐสังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485
  2. มีอำนาจในการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจกรรมธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
  3. มีบทบาทในการออกและพิมพ์ธนบัตรควบคุมธนาคารพาณิชย์ เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินในประเทศไทยที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมี 14 สถาบัน โดยสถาบันการเงินเหล่านี้อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานแตกต่างกันได้แก่ บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โรงรับจำนำ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร บริษัทประกันชีวิต บรรษัทธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม ฯลฯ เป็นต้น

งบประมานแผ่นดิน หมายถึง แผนการเงินของรัฐบาลที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ คือ วางแผนโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการล่วงหน้า การบริหารการคลังมีประสิทธิภาพและจัดทำงบประมาณทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางนโยบายการคลัง รัฐบาลแต่ละประเทศรวมทั้งประเทศไทย จะมีรายรับนำไปใช้จ่ายสาธารณะส่วนใหญ่มาจากรายได้ ภาษีอากร หมายถึง เงินที่รัฐบาลบังคับด้วยกฎหมายเพื่อเก็บจากประชาชนทั้งภาคครัวเรือนและภาคเอกชนและนำไปใช้จ่ายสาธารณะประโยชน์ต่อส่วนรวม

 

จุดเด่น/ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : มีหลายจุดเด่น เช่น

จุดเด่นที่ 1 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ สามารถทำได้ 3 วิธี ตามหลักของ UNSNA ประกอบด้วย การคำนวณด้านการผลิต การคำนวณด้านรายได้ การคำนวณด้านรายจ่าย ซึ่งตามหลักการถ้าจัดทำได้อย่างถูกต้องทั้ง 3 ด้าน ยอดจะสมดุลกัน

1.1 วิธการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านการผลิต (Production Approach)

1.2 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้ (Income Approach)

1.3 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach)

สำหรับการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่ายของระบบเศรษฐกิจใด เศรษฐศาสตร์ มี 2 ระยะ คือ ระบบเศรษฐกิจแบบปิด (Close Economic System) และระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economic System) และโยชน์และข้อควรระวังในการใช้บัญชีรายได้ประชาชาติ มีดังนี้

  • ประโยชน์จากบัญชีรายได้ประชาชาติ

1) ประโยชน์ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

2) ประโยชน์ด้านการกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ

3) ประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือวางนโยบายในการเก็บภาษีอากร

4) ประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือเทียบเคียงฐานะทางเศรษฐกิจ

ข้อควรระวังหรือข้อบกพร่องของบัญชีรายได้ประชาชาติ

1) การนับซ้ำ

2) สินค้าหรือบริการที่บันทึกจะเป็นแค่สินค้าและบริการที่ผ่านระบบเท่านั้น ส่วนสินค้าให้เปล่าหรือไม่ผ่านระบบตลาดจะไม่นำมาคิด

3) ไม่ได้แสดงวัตถุประสงค์หรือประเภทของสินค้าและบริการที่ผลิตเพิ่มขึ้น

4) บัญชีรายได้ประชาชาตินั้นเพียงแค่ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มขึ้น

5) บัญชีรายได้ประชาชาติแสดงเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าและปริมาณของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

จุดเด่นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงการลงทุน การลงทุน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระดับการลงทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของตัวกำหนดอื่นๆ เปลี่ยนแปลง เช่น อัตราดอกเบี้ย  ในขณะที่รายได้ประชาชาติคงที่โดยการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้จะทำให้เส้นการลงทุนเคลื่อนย้ายไปจากเส้นเดิมทั้งเส้น ดังภาพ

 

การเปลี่ยนแปลงการบริโภคหรือการออม

 

จากภาพ : แกนตั้งแทนการลงทุนและแกนนอนแทนรายได้ประชาชาติ ณ รายได้ประชาชาติ  การลงทุน คือ  ณ จุด A บน เส้น I เมื่อมีการลงทุนเพิ่มขึ้น เส้น I จะย้ายออกจากเส้นเดิม โดยเลื่อนสูงขึ้น เส้น  แต่ถ้าการลงทุนลดลง เส้น I ย้ายออกจากเส้นเดิม โดยเลื่อนต่ำลงเป็นเส้น  การย้ายจากจุด A ไปจุด B หรือ การย้ายจากจุด A ไป C เรียกว่า การเคลื่อนที่ไปตามเส้น

จุดเด่นที่ 3 หน้าที่ของเงิน (Function of Money) ในระบบเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

3.1  หน้าที่มีสภาพนิ่ง (Static Function) หมายถึง การที่เงินทำหน้าที่ในการช่วยให้การดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี

3.2 หน้าที่อันมีสภาพเคลื่อนที่ (Dynamic Function) หมายถึง การที่เงินมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น แต่ปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจน้องลงย่อมจะทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการถูกลง

หน้าที่อันมีสภาพนิ่งที่สำคัญมี 4 อย่างได้แก่

  1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
  2. เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการ
  3. เป็นตัวกลางในการรักษามูลค่า
  4. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต

ค่าของเงิน หมายถึง อำนาจซื้อของเงินแต่ละหน่วยในการซื้อสินค้าและบริการ ค่าของเงินจะคงที่เมื่ออำนาจซื้อคงที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ค่าของเงินมี 2 ชนิด ค่าของเงินภายในและค่าของเงินภายนอก ลักษณะของเงินในประเทศไทย เงินที่ใช้หมุนเวียนเป็นเงินที่มีมูลค่าไม่เต็มตัว (Fiat Money)  โดยเป็นเงินที่ไม่มีมูลค่าแท้จริง แต่ถูกกำหนดให้เป็นเงินตามคำสั่งของรัฐบาลแบ่งเป็น เหรียญกษาปณ์ (Coins) ธนบัตร (Bank Note) เงินฝากเผื่อเรียก (Demand Deposits) หรือเงินฝากกระแสรายวัน (Current Deposit) คือ เงินฝากที่เจ้าของบัญชีเบิกถอนโดยใช้เช็คได้

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : ผลงานทางวิชาการเล่มนี้ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจสำหรับบุคคลทั่วไป นอกจากนักวิชาการ นิสิต นักศึกษา เช่น โครงสร้างอัตราภาษี

หลักในการเก็บภาษีที่สำคัญ คือ อยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ความเป็นธรรมและส่งเสริมกระจายรายได้ ภาษีแต่ละชนิดจึงมีโครงสร้างอัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บในแต่ละฐานภาษีที่แตกต่างกัน โครงสร้างภาษีมี 3 แบบ ดังนี้

 

  ลักษณะอัตราภาษีเมื่อฐานภาษีเพิ่ม ภาษีที่จัดเก็บ
แบบก้าวหน้า Progressive() เพิ่มขึ้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา , ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ใหม่)
แบบตามสัดส่วน (Proportional) คงที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม , ภาษีเงินได้บุคคล นิติบุคคล ฯลฯ
แบบถดถอย (Regressive) ลดลง ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ใช้กรณีที่ต้องการส่งเสริมการผลิตนั้นให้ขยายตัว ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ (เดิม)

 

โครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า หมายถึง ภาษีชนิดเมื่อฐานภาษีของบุคคล หรือนิติบุคคลนั้นเพิ่มขึ้น จะต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อบุคคลมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะเสียอัตราสูงขึ้น

 

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ร้อยละ)
ไม่เกิน 150,000 บาท ยกเว้น
150,001 – 500,000 บาท 5
300,001 – 500,000 บาท 10
500,001 – 750,000 บาท 15
750,001 – 1,000,000 บาท 20
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25
2,000,001 – 4,000,000 บาท 30
4,000,001 ขึ้นไป 35

 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์     บรรณากร