การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ      ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาตลาดน้ำ

                                         คลองบางหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

The Study of Ecotourism Potentials: A Case Study of

Khlong Bang Luang  Floating Market, Bangkok

ประเภทผลงานทางวิชาการ          บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์                                   2560

ข้อมูลเพิ่มเติม                 บทความนี้ได้นำเสนอในงาน เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในการประชุม

                                       วิชาการระดับชาติ    ด้านการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ครั้งที่ 1  (วันที่ 16 มิถุนายน 2560)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

                                      ดร.ตุลยราศรี ประเทพ     สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

            บทความวิจัย      เรื่อง     ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ   :      กรณีศึกษาตลาดน้ำ

คลองบางหลวง  ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอภาษีเจริญ  กรุงเทพมหานคร นี้  ดร.ตุลยราศรี ประเทพ สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  เป็นผู้ศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านการบริหารจัดการและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 139 คนและนักท่องเที่ยว จำนวน 212 คน  รวมทั้งสิ้น451 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว  และสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยล่ะ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลของการวิจัยพบว่า  การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ในภาพรวม ประสบกับปัญหาที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับมาก คือ ปัญหาด้านผู้ประกอบการ และการศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ตลาดน้ำคลองบางหลวง โดยรวม มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อศักยภาพ ด้านพื้นที่ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านกิจกรรม)  และด้านการจัดการ  ตามลำดับ  ซึ่งบทความวิจัยดังกล่าวสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและสร้างเส้นทางและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองบางหลวง ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

บทคัดย่อ

            การวิจัยแบบผสมผสานวิธีเรื่องศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาตลาดน้ำคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพมหานครโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำคลองบางหลวง และ เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำคลองบางหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประชาชนในท้องถิ่น (ประชาชนในพื้นที่) จำนวน 139 คนและเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 212 คน  โดยเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว

ผลการวิจัยพบว่า

1)การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในภาพรวมประสบกับปัญหาที่มีความรุนแรงระดับมากคือ ปัญหาด้านผู้ประกอบการโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ1.52,2)การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลาดน้ำคลองบางหลวง โดยรวม มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อศักยภาพ ด้านพื้นที่ อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย (= 3.57)รองลงมา คือ ด้านกิจกรรม(xˉ = 3.51)  และด้านการจัดการ(xˉ = 3.49)  ตามลำดับ

คำสำคัญ:ศักยภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

 

Abstract

This mixed-method research entitled “The Study of Ecotourism Potentials: A Case Study of Khlong Bang Luang Floating Market, Bangkok” aimed to study thecurrent issues of ecotourism attractions of Khlong BangLuang Floating Market and to study the ecotourism site potentials of Khlong Bang Luang Floating Market. The sample consisted of 139 local people and 212 tourists which had been selected using accidental sampling method. The instrument used was a tourism potential evaluation form. The process and statistic used to analyze information were content analysis, average, percentage and variance.

The findings revealed as follows:

1) The problem on the participatory ecotourism management of Khlong Bang Luang Floating Market. Sub-district was at a high level. It was found out that the highest mean score was found in the entrepreneur 2) The study revealed that the overall ecotourism potential of Khlong Bang Luang Floating Market was high. The findings, according to each aspect, were at a high levelincluding the area (xˉ = 3.57), the activities(xˉ = 3.51)  and the management (xˉ = 3.49) respectively.

Keywords: Ecotourism Potentials

View Fullscreen