ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
The Effects of the Use of Research – Based Learning Model in a Course of Education for Sustainable Development

 แฝงกมล เพชรเกลี้ยง (Fangkamol Phetkliang)
สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
([email protected])

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จานวน 2 กลุ่ม ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในภาพรวม พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมบทบาทของอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาในการใช้ผลการวิจัย และใช้กระบวนการวิจัยอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุดทั้ง 4 บทบาท 2) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เน้นการใช้ผลการวิจัยและกระบวนการวิจัย และบูรณาการเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อาจารย์ผู้สอนมีบทบาทในการคัดเลือกงานวิจัยและนาผลการวิจัยมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมการคิดให้นักศึกษารู้จักการตั้งปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และฝึกทักษะกระบวน การวิจัยให้กับนักศึกษา ซึ่งนักศึกษามีบทบาทในการเรียนรู้เนื้อหาสาระในรายวิชาควบคู่กับการวิจัย แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และฝึกการแก้ปัญหาโดยการใช้กระบวนการวิจัย ทั้งนี้ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ช่วยพัฒนาทักษะการคิด ทักษะกระบวนการวิจัย การทางานอย่างเป็นระบบ และช่วยให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม และนักศึกษามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
คำสำคัญ : รูปแบบการสอน, เรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน, การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Abstract
    The purposes of this research were 1) develop lesson plans using research – based learning model in a course of Education for Sustainable Development 2) study the effects of learning using research – based learning model on the learning outcomes of students in the course of Education for Sustainable Development, and 3) the students’ opinions towards learning using research – based learning model in a course of Education for Sustainable Development. The samples consisted of two groups of the 1st year students at the Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, first semester, 2558 using Cluster Random Sampling. The research tools were lesson plan using research – based learning model in a course of Education for Sustainable Development, assessment test in a course of Education for Sustainable Development and interviews form for students’ opinions on learning using research – based learning model. The statistics to analyze the data were the average, standard deviation and T-Test.
The research finding showed that 1) the overall result of the development of lesson plans using research – based learning model in a course of Education for Sustainable Development, the activities that promote the role of instructor and students in the use of research results and research methodology is in the practical level of all the four roles. 2) Learning outcomes of students who have been learning using research – based learning model in a course of Education for Sustainable Development was higher than the beginning of the course at statistically significantly at 0.01 level. As well as the learning outcomes of students after learning using research – based learning model in a course of Education for Sustainable Development was higher than students who were taught using other methods at statistically significantly at 0.01 level. 3) The result of students’ opinion towards learning using research – based learning model were the learning activities focused on using research finding and the research process and integrating a variety of teaching and learning techniques. Instructors have a role in selecting research and using research findings to use in learning activities where instructors can encourage students to think and formulate question, solve the problem systematically and teach them research skills along with subject content. Students would learn to gather knowledge by themselves from various sources and solve the problem using research method. The benefits of learning using research – based learning model were to help develop thinking skills, research skills, working in a systematically way, and forming the unity of the group. Students suggested that instructor should provide the opportunity to students to conduct research individually and should enable students to practice doing quantitative and qualitative research.
Keyword: Teaching Learning Model, Learning to use research – base, Education for Sustainable Development


บทนำ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ในหมวดที่ 4 มาตรา 24 (5) และสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดให้การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญเป็นรูปแบบหนึ่ง ที่ควรส่งเสริมให้มีการดาเนินการเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิต ทักษะทางสังคมของบัณฑิต สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ระยะที่ 9 (พ.ศ.2545 – 2549) ที่มุ่งเน้นให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนคิดเป็น ทาเป็น มีเหตุผลสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตรู้จักใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้ และกระบวนการที่สร้างความรู้ได้อย่างเป็นระบบระเบียบ ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาฯ ระยะที่ 9 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า การวิจัยเป็นแนวทางดาเนินการหนึ่งที่นาไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (สานักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2546 : 18) การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐานถือเป็นการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการวิจัยไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับอาจารย์ผู้สอนเท่านั้นแม้แต่ผู้เรียนก็ต้องเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ผู้เรียนในยุคปฏิรูปการศึกษาควรมีทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบและยั่งยืน และสามารถนา เอากระบวนการวิจัยไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง เช่น นา ไปสร้างโครงงาน ตรวจสอบความรู้ของตนเอง แสวงหาความรู้ใหม่ๆ นาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน (พิชญ์สินี ชมภูคา, 2544 : 15)

ในช่วงที่ผ่านมา การวิจัยได้เข้ามามีบทบาทมากในแวดวงการศึกษา โดยเป็นกลไกสาคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ของสถาบันต่างๆ จึงมีความจาเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ ผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้สอนและผู้เรียนจาเป็นต้องปรับบทบาท และวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางที่มีคุณค่าต่อตัวผู้เรียน ต่อสังคมในทางสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน มีการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน (Research – Based Learning : RBL) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการสืบสอบค้นคว้าด้วยกระบวนการวิจัย (สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย, 2546 : 12) อันจะเป็นผลให้เกิดกระแสทางการศึกษาใหม่ในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เกิดรูปธรรมในการศึกษา เกิดผลผลิตขึ้นในวงการศึกษา แล้วให้ผลผลิตนั้นเป็นผลผลิตในทางสร้างสรรค์ เป็นผลผลิตใหม่ที่เกิดจากความคิด สติปัญญา วิธีการของการศึกษานั้นๆ เป็นการศึกษาแนวผลผลิตนิยมเชิงสร้างสรรค์ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2545: 13)

สมหวัง พิพิธานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2545 : 13) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นการสอนเนื้อหาวิชา เรื่องราว กระบวนการ ทักษะ และอื่นๆ โดยใช้รูปแบบการสอนชนิดที่ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาหรือสิ่งต่างๆ ที่ต้องการสอนนั้น โดยอาศัยพื้นฐานจากกระบวนการวิจัย ซึ่งมีกลวิธีในการใช้การวิจัยในการเรียนการสอน 4 วิธี คือ 1) การสอนโดยใช้วิจัยเป็นวิธีสอน 2) การสอนโดยให้ผู้เรียนร่วมทาโครงการวิจัยกับอาจารย์ 3) การสอนโดยให้ผู้เรียนศึกษางานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนและของนักวิจัยชั้นนาในศาสตร์ที่ศึกษา และ 4) การสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบ การเรียนการสอน สอดคล้องกับ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2545 : 32) กล่าวว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานอยู่บนแนวคิดหลัก 2 ประการที่ประกอบกัน คือ เนื้อหาที่ได้จากการวิจัย และกระบวนการวิจัย ตลอดจนการดาเนินการตามขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลและ จุฑา ธรรมชาติ (2552 : 120) กล่าวว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ต้องประกอบด้วยลักษณะสาคัญ 6 ประการ คือ 1) ฝึกให้ผู้เรียนตั้งปัญหาและหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ 2) บูรณาการเทคนิคการเรียนรู้แบบหลากหลายวิธี 3) ส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะพื้นฐานที่จาเป็นต่อการเรียน 4) ฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนทีละน้อย 5) นาผลการวิจัยมาสอนควบคู่กับการเรียนรู้กระบวนการวิจัยอย่างสมดุล และ 6) กระตุ้นผู้เรียนด้วยการประเมินอย่างต่อเนื่อง

จากความเป็นมาและความสำคัญดังที่กล่าวมา จะเห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้า หาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นกระบวนการซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนามาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกทาการศึกษาในรายวิชา 1001101 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development) ซึ่งเป็นวิชาบังคับระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ครุศาสตร์) โดยการนาผลการวิจัยมาใช้สนับสนุนเนื้อหาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้กระบวน การวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนักศึกษาใช้ผลการวิจัยและกระบวนการ วิจัยในการเรียนรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อฝึกให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาด้วยการวิจัย โดยที่ผ่านมาการจัดการเรียนการสอนวิชานี้เป็นการสอนแบบบรรยายเนื้อหา ผู้วิจัยจึงนาเอาวิธีการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยการวิจัยเป็นฐานมาพัฒนาเป็นแผนการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษา รวมไปถึงศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน ซึ่งผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์สาหรับการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการวิจัยทาให้นักศึกษาได้รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้จนกระทั่งสามารถนาไปใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ที่มีอยู่รอบตัว และเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งผลการศึกษาที่ได้จะนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการสอนในระดับอุดมศึกษาอันได้แก่การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปพัฒนาสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่

2.1 เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สมมติฐานการวิจัย

1. ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้

2. ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 1001101 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development)

2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 1001101 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development) จานวน 2 กลุ่ม ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

แบบแผนการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบแผนแบบแผนสุ่มกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนหลัง (Randomized Control Group Pretest – Posttest Design) แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัย

การสุ่ม กลุ่ม ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง
R E
C
O1
O1
X
O2
O2

เมื่อ
R แทน การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

E แทน กลุ่มทดลองจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน

C แทน กลุ่มควบคุมจัดการเรียนรู้แบบปกติ

O1 แทน การทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน

X แทน การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน

O2 แทน การทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน

เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จานวน 8 แผน
2. แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จานวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานในรายวิชาการการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน จานวน 60 ข้อ
ฉบับที่ 2 แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานในรายวิชาการการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน จานวน 60 ข้อ
ฉบับที่ 3 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยการวิจัย ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน จานวน 20 ข้อ
ฉบับที่ 4 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยการวิจัย หลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน จานวน 20 ข้อ
3. แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน มีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์หาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จานวน 8 แผน
ตอนที่ 2 วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน จานวน 5 ฉบับ
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตอนที่ 4 เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
ตอนที่ 5 ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดกลุ่มข้อความ และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 วิเคราะห์หาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 8 แผน

ตอนที่ 2 วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน จำนวน 5 ฉบับ

ตอนที่ 3 เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


สรุปผลการวิจัย

  1. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในภาพรวม พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมบทบาทของอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาในการใช้ผลการวิจัย และใช้กระบวนการวิจัยอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุดทั้ง 4 บทบาท ซึ่งการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์ใช้ผลการวิจัยมากที่สุด รองลงมา คือ บทบาทด้านนักศึกษาใช้กระบวนการวิจัย บทบาทด้านอาจารย์ใช้กระบวนการวิจัย และบทบาทนักศึกษาใช้ผลการวิจัย ตามลำดับ
  2. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า

2.1 ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2 ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  1. ผลศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า

1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เน้นการใช้ผลการวิจัยและกระบวน การวิจัยมาเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในรายวิชา และการบูรณาการเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

2) ด้านบทบาทของอาจารย์ มีการคัดเลือกงานวิจัยมาใช้ในการจักการเรียนรู้และนาผลการวิจัยมาประกอบเนื้อหาที่สอน ส่งเสริมการคิดให้กับนักศึกษา นอกจากนี้ยังมีการตั้งคาถามและกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคาถาม เพื่อเร้าความสนใจในการเรียนรู้ ฝึกให้นักศึกษารู้จักการตั้งปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และฝึกทักษะการวิจัยและกระบวนการวิจัยให้กับนักศึกษาตามลาดับขั้นตอน

3) บทบาทของนักศึกษา มีการเรียนรู้เนื้อหาสาระจากงานวิจัยควบคู่กับเนื้อหาที่เรียนในรายวิชา ถาม – ตอบ ในประเด็นที่สงสัย แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาโดยการใช้กระบวนการวิจัย ทั้งนี้ยังมีการวางแผนการดาเนินงาน และการทางานร่วมกันในกลุ่ม

4) ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ทาให้นักศึกษามีความรู้ในรายวิชาที่เรียน ช่วยพัฒนาทักษะการคิด ช่วยพัฒนาทักษะกระบวน การวิจัย ช่วยให้สามารถทางานอย่างเป็นระบบ และช่วยให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม และ

5) นักศึกษามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐานว่าควรให้นักศึกษาได้ฝึกทาวิจัยเป็นรายบุคคล และให้นักศึกษาทาวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

อภิปรายผล

จากผลการวิจัยสามารถอภิปรายผล ดังนี้

  1. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจานวน 8 แผน ในภาพรวม พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมบทบาทของอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาในการใช้ผลการวิจัย และใช้กระบวนการวิจัยอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุดทั้ง 4 บทบาท ซึ่งการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์ใช้ผลการวิจัยมากที่สุด รองลงมา คือ บทบาทด้านนักศึกษาใช้กระบวนการวิจัย บทบาทด้านอาจารย์ใช้กระบวนการวิจัย และบทบาทนักศึกษาใช้ผลการวิจัย ตามลาดับ ทั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ จุฑา ธรรมชาติ (2552 : 144 – 148) เรื่องการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาวิจัยทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีความเหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่กาหนดขึ้น ซึ่งส่งเสริมบทบาทของผู้สอนใช้ผลการวิจัย ผู้เรียนใช้ผลการวิจัย ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัย และผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัย อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 บทบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้วิจัยจัดการเรียนการสอน โดยการนาผลการวิจัยมาใช้สนับสนุนเนื้อหาที่เรียน และใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการสอนที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาใช้ผลการวิจัยและกระบวนการวิจัยในการเรียน เป็นการฝึกให้นักศึกษาแก้ปัญหาด้วยการวิจัย และสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ สอดคล้องกับแนวคิดของ เสาวภา วิชาดี (2554 : 27) การนากระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้หรือนาเอากระบวนการวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยและการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยผู้สอนหรือครูใช้วิธีการสอนที่หลากหลายอันนาไปสู่การสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน และสอดคล้องกับแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี (2545 : 54) ในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัยเป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัย หรือผลการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ โดยอาจใช้การประมวลผลงานวิจัยมาประกอบการสอนเนื้อหาสาระ หรือให้ผู้เรียนลงมือทาวิจัยโดยตรง หรือช่วยฝึกฝนทักษะการวิจัยต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน
  2. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    2.1 การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากผล การวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากการเรียนแบบใช้วิจัยเป็นฐานช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจวิชาที่เรียนมากขึ้น ทาให้ผลการเรียนในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นสูงขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ จุฑา ธรรมชาติ (2552 : 144 – 148) เรื่องการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาวิจัยทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์หลังการจัดการเรียนรู้ ด้านความรู้พื้นฐานการวิจัย ทักษะการคิดแก้ปัญหาด้วยการวิจัย และเจตคติต่อการวิจัย สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พัชรี จันทร์เพ็ง (2554 : 40) เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการวิจัยของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ผลการวิจัยพบว่า ผลที่เกิดขึ้นตามการรับรู้ของนักศึกษาใน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความรู้ทางการวิจัย ด้านทักษะการคิด ด้านทักษะพื้นฐานในการวิจัย ด้านคุณค่าและประโยชน์ และด้านการเตรียมความพร้อมสู่การประกอบอาชีพ สูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในทุกด้าน และ ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ (2557 : 54) ได้ศึกษาผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากการเรียนแบบใช้วิจัยเป็นฐานช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจวิชาที่เรียนมากขึ้น ทาให้ผลการเรียนในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นสูงขึ้น สอดคล้อง

2.2 เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จากผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 สอดคล้องกับการวิจัยของ Villi and Saari (2004 : 463 – 481) เรื่องพัฒนาการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานในหน่วยการเรียนรู้วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่องน้าขึ้นน้าลง สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ในการทดสอบก่อนเรียนนักเรียนที่เรียนแบบปกติ แต่เมื่อสอนผ่านไปเป็นเวลาหนึ่งเดือน ผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบใช้วิจัยเป็นฐานสูงขึ้น จากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .05 การวิจัยของ สันต์ สุวทันพรกูล (2551 : 171 – 177) ได้วิจัยและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการสาระท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการสาระท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิตสูงกว่านักเรียนที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการวิจัยของ ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ (2557 : 54) เรื่องผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เนื่องมาจากการเรียนการสอนแบบใช้การวิจัยเป็นฐานช่วยให้นักศึกษาได้รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ จนกระทั่งสามารถนาไปใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ที่มีอยู่รอบตัวและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือเรียกว่าเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สอดคล้องกับแนวคิดของ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2555) ที่ว่าการสอนแบบใช้การวิจัยเป็นฐานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ ทาให้ผู้เรียนได้พบความรู้ใหม่ด้วยตนเองและได้รับทราบว่าองค์ความรู้ในปัจจุบันของวิชานั้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้ใช้ผลการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ยังมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น (ทิศนา แขมมณี, 2555)

  1. ผลศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีประเด็นสาคัญ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน บทบาทของอาจารย์ บทบาทของนักศึกษา ประโยชน์ที่ได้จากการเรียน และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เน้นการใช้ผลการวิจัยและกระบวนการวิจัยมาเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในรายวิชา และการบูรณาการเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สร้างความคุ้นชินในการวิจัย และมีอิสระในการคิดและการปฏิบัติ สอดคล้องกับแนวคิดของ วรรณิสา มุณีผล (2547) ที่ว่าการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานมีรูปแบบการสอนที่หลากหลายและแต่ละรูปแบบสามารถใช้ร่วมกันได้ ได้แก่ การเรียนรู้โดยการนาตนเอง กระบวนการเรียนรู้ด้วยกลุ่มสัมพันธ์ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก กระบวนการเรียนรู้ด้วยการสืบสวน

บทบาทของอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า อาจารย์ผู้สอนมีการคัดเลือกงานวิจัยมาใช้ในการจักการเรียนรู้และนาผลการวิจัยมาประกอบเนื้อหาที่สอน ส่งเสริมการคิดให้กับนักศึกษาไม่ว่าจะเป็นการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ และการคิดแก้ปัญหา นอกจากนี้อาจารย์ยังมีบทบาทในการตั้งคาถามและกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคาถาม เพื่อเร้าความสนใจในการเรียนรู้ และฝึกให้นักศึกษารู้จักการตั้งปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ในขณะเดียวกันอาจารย์ผู้สอนจะให้คาแนะนาและคอยสะท้อนมุมมองต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในปัญหามากขึ้น และอาจารย์มีบทบาทในการฝึกทักษะการวิจัยและกระบวนการวิจัยให้กับนักศึกษาตามลาดับขั้นตอน สอดคล้องกับแนวคิดของ ไพศาล สุวรรณน้อย (2549 : 62) อธิบายว่าการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานจึงเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้ในศาสตร์ของตน ทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะกระบวน การวิจัย ทักษะกระบวนการคิด และการสร้างเจตคติที่ดีต่อการใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

    บทบาทของนักศึกษาในการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า นักศึกษามีบทบาทในการเรียนรู้เนื้อหาสาระจากงานวิจัยควบคู่กับเนื้อหาที่เรียนในรายวิชา มีการถาม -ตอบ ในประเด็นที่สงสัยและจากคาถามของอาจารย์ผู้สอน เนื่องจากการถาม -ตอบ เป็นเทคนิคสาคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี บทบาทในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ บทบาทในการฝึกการแก้ปัญหาโดยการใช้กระบวน การวิจัย เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาสามารถใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทในการวางแผนการดาเนินงาน เนื่องจากการวิจัยเป็นกระบวนการที่มีระบบแบบแผนที่ชัดเจน ในการเรียนรู้กระบวนการวิจัยนักศึกษาจาเป็นต้องรู้จักการวางแผนการทางานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้งานที่ทามีประสิทธิภาพ และบทบาทในการทางานร่วมกันในกลุ่ม สอดคล้องกับแนวคิดของ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2545) สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และ ทัศนีย์ บุญเติม (2545 : 28) และ ทิศนา แขมมณี (2555 : 55) ที่ว่าการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ในศาสตร์ของตนได้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะให้ผู้ได้เรียนได้ฝึกทักษะย่อยๆ อย่างเป็นลาดับขั้นตอน เพื่อให้เกิดความชานาญ เริ่มตั้งแต่การตั้งคาถาม รู้จักการยกประเด็นปัญหา วิเคราะห์ปัญหา รู้วิธีการที่จะได้มาซึ่งคาตอบ และเมื่อได้คาตอบแล้วจะต้องวิเคราะห์พิจารณาหาคาตอบใหม่ต่อไป ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้ทาให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาหาความรู้ทาให้มีประสบการณ์กับสิ่งนั้นจนนาไปสู่การเรียนรู้ได้ดี

    ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทาให้นักศึกษามีความรู้ในรายวิชาที่เรียน ช่วยพัฒนาทักษะการคิด ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัย ช่วยให้สามารถทางานอย่างเป็นระบบ และช่วยให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม และนักศึกษามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยใช้วิจัยเป็นฐานว่าควรให้นักศึกษาได้ฝึกทาวิจัยเป็นรายบุคคล และให้นักศึกษาทาวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการวิจัยไปใช้

1.1 จากผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นเครื่องมือสาคัญที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่นักศึกษา ดังนั้น จึงควรใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน มาประยุกต์ในรายวิชาอื่นๆ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในรายวิชาอื่นๆ มากขึ้น

1.2 เนื่องจากรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีวิจัย ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนควรอธิบายระเบียบวิธีวิจัยและคาศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถอ่านรายงานผลการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ได้เข้าใจมากขึ้น

1.3 การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการวิธีสอนที่หลากหลาย ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนควรประยุกต์วิธีการสอนอื่นๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนให้มากขึ้น

  1. ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อทักษะด้านอื่นๆ ของนักศึกษา เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์

2.2 ควรวิจัยการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน ในรายวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการแก้ปัญหาด้วยการวิจัยให้แก่นักศึกษา

2.3 ควรศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบอื่นๆ เช่น แบบแผนแฟคทอเรียล (Factorial Design) แบบแผนสี่กลุ่มของโซโลมอน (Solomon Four Group Design) แบบแผนสุ่มกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนหลังหลายช่วงเวลา (Control Group Time Series Design) เป็นต้น เพื่อให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือมีมากยิ่งขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง

จุฑา ธรรมชาติ. (2552). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาวิจัยทางการศึกษา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2557). ผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อความรู้เรื่องวัฒนธรรมอาเซียนของนักศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 16(1), 54 -62.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธา การพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี จันทร์เพ็ง. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการวิจัยของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 1(2), 21 -44.

พิชญ์สินี ชมภูคา. (2544, กันยายน). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8, 15 -25.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน : การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(3 -4), 17 -26.

วรรวิสา มุณีผล. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของนักเรียนระดับประถมศึกษาระหว่างโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานกับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2545). การสอนแบบ Research – Based Teaching. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ). การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. (หน้า 8 -20). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันต์ สุวทันพรกูล. (2551). การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ที่บูรณาการสาระท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สาหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คาปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์. (2546). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาระยะ 3 ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547 -2549). กรุงเทพฯ : สานักงานปลัดกระทรวง.

เสาวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่ : การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารนักบริหาร, 31(3), 26 -30.

Viiri, J. and Saari, H. (2004). Research Based Learning Unit for Tides. International Journal of Science Education, 26(4), 463 -481.