มุมมองการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดถนอม ตันเจริญ


ชื่อผลงานทางวิชาการ มุมมองการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ  สหวิทยาการเอเชียอาคเนย์  2559 ครั้งที่ 3

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดถนอม ตันเจริญ

 

             บทความ เรื่องมุมมองการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของชุมชนนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเน้นความสำคัญที่อาคารสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ ศาสนา งานประเพณีระดับชาติ เช่น วัดวาอาราม ปราสาทราชวัง อุทยานประวัติศาสตร์ และงานประเพณีสำคัญ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น โดยมุ่งนำเสนอความเป็นมาอันน่าทึ่ง ความยิ่งใหญ่ อลังการ ความวิจิตรตระการตา สีสัน รวมไปถึงความสะดวกสบายที่สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ไปพร้อมกับการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงได้มีส่วนร่วมออกร้านหรือจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าของชุมชน เช่น งานหัตถกรรม งานศิลปะ และการแสดงทางวัฒนธรรมนั้น ล้วนเป็นงานที่ริเริ่มโดยภาครัฐ และมุ่งหวังที่จะให้ศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมทางวัฒนธรรมเป็นตัวดึงดูด ก่อให้เกิดอาชีพและรายได้กระจายลงไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งเน้นความสำคัญของหลักการที่เป็นจุดอ่อนและส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมที่กระทบต่อความรู้ความเข้าใจและความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชนเอง ปัญหาที่ต้องการแก้ไขและเป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวคือการมีส่วนร่วมในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอาชีพและรายได้อย่างเป็นธรรม ประสมประสานกับการนำเสนอทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นจุดเด่น ในขณะที่ใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ หรือ 7Ps เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเน้นความสำคัญของอาคาร สถานที่ทางประวัติศาสตร์ และงานประเพณีสำคัญ เช่น วัดวาอาราม ปราสาทราชวัง และโบราณสถานอื่น ๆ  ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนเอง เพื่อนำเสนอสินค้า บริการ แหล่งท่องเที่ยว และทำการตลาดด้วยตนเอง เพื่อความยั่งยืน พัฒนาไปสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไป รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ด้วยความเข้าใจในความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ความสามัคคีของคนในชุมชน ในฐานะผู้ประกอบการและผู้ขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรง โดยชุมชนยังต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชนในพื้นที่ และสถาบันการศึกษา ล้วนมีพลังในการผลักดันและขับเคลื่อนหลักการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

 

ประวัติผู้เขียนบทความ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดถนอม ตันเจริญ
คุณวุฒิ : ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ : การตลาด การท่องเที่ยว การบริหารทรัพยากรมนุษย์ รัฐประศาสนศาสตร์
ตำแหน่งปัจจุบัน : อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประสบการณ์ : เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
งานวิจัยที่สนใจ : การท่องเที่ยว การบริหารธุรกิจ การสื่อสารการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น  ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์